วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บทที่ 2 โครงสร้างทางสังคมและลักษณะของสังคมไทย


บทที่ 2 โครงสร้างทางสังคมและลักษณะของสังคมไทย



สังคมไทยเป็นสังคมที่มีโครงสร้างทางสังคมเช่นเดียวกับโครงสร้างทางสังคมทั่วไปในเรื่องของกลุ่มสังคมและสถาบันสังคม การที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีแบบแผนและมีแบบแผนก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียขึ้นในสังคมไทย ในแง่ของผลเสีย พบว่า กระบวนการของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาในสังคมไทยมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกทุกคนในสังคมไทยต้องให้ความร่วมมือ ในการร่วมแก้ไขปัญหา

สาระการเรียนรู้
1.โครงสร้างทางสังคม
- โครงสร้างของสังคมไทย 
- ลักษณะโครงสร้างทางสังคม
- องค์ประกอบโครงสร้างทางสังคม
- สถาบันสังคมที่สำคัญ 
2. การจัดระเบียบทางสังคม
- ความหมายของการจัดระเบียบสังคม
- วิธีการจัดระเบียบทางสังคม
- องค์ประกอบของการจัดระเบียบ
- การควบคุมทางสังคม 

โครงสร้างทางสังคม

สังคมมนุษย์แม้ว่าจะมีขนาดของสังคมหรือลักษณะเฉพาะของสังคมแตกต่างกัน แต่เมื่อกล่าวถึงโครงสร้างทางสังคมโดยทั่วไปหรือโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมเบื้องต้นแล้ว ทุกสังคมต่างมีองค์ประกอบสำคัญอยู่บนพื้นฐานสองประการที่สำคัญคือกลุ่มสังคมและสถาบันทางสังคม
การศึกษาในเรื่องโครงสร้างทางสังคมจะช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับสังคมในแง่มุมต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่ง โครงสร้างทางสังคมมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ความหมายโครงสร้างทางสังคม
โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นระบบความสัมพันธ์ของสังคมมนุษย์ ส่วนประกอบดังกล่าวจะต้องเป็นเค้าโครงที่ปรากฏในสังคมมนุษย์ทุก ๆ สังคม แม้ว่าจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมก็ตาม
โครงสร้างของสังคมไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. สังคมชนบท (กลุ่มปฐมภูมิ)
2. สังคมเมือง (กลุ่มทุติยภูมิ)

โดยที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่ในชนบท ซึ่งเป็นสังคมแบบประเพณีนำ และเป็นสังคมเกษตรกรรม ดังนั้นถ้าหากรู้จักสังคมและวัฒนธรรมไทยจะต้องพิจารณาจากโครงสร้างสังคมชนบทเป็นหลัก และ จะต้องพิจารณาถึงอิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรม เมืองที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมชนบทประกอบไปพร้อมๆกันสังคมชนบทจัดว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย เพราะเท่ากับเป็นโครงสร้างของสังคมไทยทั้งหมด สังคมชนบท ได้แก่ การร่วมกลุ่มแบบอรูปนัยของกลุ่มปฐมภูมิ มีการติดต่อกันแบบตัวถึงตัว สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมซึ่งคล้ายคลึงกัน ทำให้สถานภาพและบทบาทของคนในสังคมชนบทไม่แตกต่างกันมาก มีการรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น สมาชิกของสังคมทำหน้าที่สอดคล้องต่อเนื่องกันอย่างราบรื่น และมีค่านิยมในเรื่องคุณความดีทางศาสนาเป็นตัวควบคุมความประพฤติทางสังคมของชนบทหรือที่เราเรียกกันว่าจารีตนั่นเอง
สังคมเมือง ข้อแตกต่างที่เด่นชัดระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมือง
ได้แก่ จำนวนกลุ่มขององค์การที่มีมากในสังคมเมืองหลวง หลักเกณฑ์การพิจารณาสถานภาพทางสังคมของบุคคลในเมืองหลวง ขึ้นกับฐานะทางเศรษฐกิจ อำนาจและความเกี่ยวข้องทางการเมือง และระดับการศึกษาซึ่งผิดจากเกณฑ์ของสังคมชนบท นอกจากนั้นแล้วโครงสร้างชนชั้นทางสังคมในเมืองหลวง คือประกอบด้วยกลุ่มคนที่เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลเก่าและขุนนาง ค่านิยมของคนเมืองหลวงนั้นจะเน้นหนักเรื่องอำนาจและความมั่งคั่งมากกว่าชาวชนบท มีความต้องการยกระดับตัวเอง จากชั้นสังคมเดิมไปสู่
ชั้นที่สูงกว่า โดยอาศัยปัจจัยหลายประการ เช่น ฐานะทางการเงิน การศึกษา อำนาจทางการเมือง และสิทธิต่างๆ
ลักษณะมูลฐานของสังคมซึ่งทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ หมายถึง องค์ประกอบหลัก (เสาหลัก) ของสังคมที่เป็นตัวค้ำยันสังคมไว้ให้พยายามสัมพันธ์ของคนในสังคมดำเนินไปได้ ประกอบไปด้วย
- ค่านิยม (Social Value) - บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norm)
- สถานภาพ (Status) - บทบาท (Role)
- สถาบันทางสังคม (Social Organization) - การควบคุมทางสังคม (Social Control)
ลักษณะโครงสร้างทางสังคม
โดยทั่วไปโครงสร้างทางสังคมโดยทั่วไป มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้1. มีการรวมกลุ่มของคนในสังคม ซึ่งแต่ละกลุ่มที่รวมกันต่างมีหน้าที่รับผิดชอบและประสิทธิภาพในการ ทำงานตามที่กลุ่มได้กำหนดเป้าหมายไว้2. มีแนวทางในการปฏิบัติอย่างเหมาะสมหรือมีกฎเกณฑ์ระเบียบแบบแผนเป็นแนวทางให้ยึดถือร่วมกัน โดยยึดหลักประโยชน์สูงสุดของสังคม3. มีจุดหมายในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดีและมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้กับสังคมนั้น4. มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ กล่าวคือ โครงสร้างของสังคมจะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงทั้งในแง่ของการเพิ่มขึ้นหรือลดลง ในหลายรูปแบบเช่นจำนวนคนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากการเคลื่อนย้ายประชากรในสังคม หรือ รูปแบบของความสัมพันธ์ของบุคคลภายในสังคมอาจมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานภาพที่ปรับเปลี่ยนไปหรือแม้แต่สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในสังคม เป็นต้น
องค์ประกอบโครงสร้างทางสังคม


มีองค์ประกอบ 2 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มสังคม (Social Groups) และสถาบันสังคม (Social Institutions)1. กลุ่มสังคม
กลุ่มสังคม 
หมายถึง กลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีความรู้สึกเป็นสมาชิกร่วมกัน มีการกระทำระหว่างกันทางสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกในกลุ่มสังคมนั้น ตามบทบาทและหน้าที่ของตนเอง
ลักษณะที่สำคัญของกลุ่มสังคม
1. มีการกระทำระหว่างกันทางสังคมหรือมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน (Social interaction) (=มีการปฏิบัติต่อกัน)
2. สมาชิกในกลุ่มต่างมีตำแหน่งและบทบาทหน้าที่แตกต่างกันและประสานบทบาทระหว่างกันมีแบบแผนพฤติกรรมตามบรรทัดฐานของกลุ่ม หรือที่เรียกว่า วัฒนธรรมย่อย (=มีวัฒนธรรมของกลุ่ม)
3. มีความรู้สึกเป็นสมาชิกร่วมกัน ทำให้มีความผูกพันในฐานะที่เป็นสมาชิกของกลุ่มสังคมเดียวกัน (=สนิทสนมรักใคร่กันตามระดับกลุ่ม)
4. มีวัตถุประสงค์ร่วมกันที่สำคัญ คือ เพื่อสนองความต้องการของสมาชิกแต่ละคน และความต้องการของสมาชิกของกลุ่มเป็นส่วนรวม (=มีภารกิจถาวรหรือเฉพาะกิจ)

ลักษณะ
กลุ่มปฐมภูมิ
(สังคมชนบท)
กลุ่มทุติยภูมิ
(สังคมเมือง)
ความสัมพันธ์
ใกล้ชิดสนิทสนมเป็นส่วนตัว
เป็นไปอย่างเป็นทางการ
การติดต่อกัน
1.โดยตรงและส่วนตัว จึงสามารถแสดงความรู้สึกได้อย่างเต็มที่
2.มีการติดต่อกันยาวนาน
เป็นไปตามกฎเกณฑ์และสถานภาพความสัมพันธ์เฉพาะด้าน
2. สถาบันสังคม
สถาบันสังคม หมายถึง รูปแบบพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมเพื่อสนองความต้องการร่วมกันในด้านต่าง ๆ และเพื่อการคงอยู่ของสังคมโดยรวม แบบแผนพฤติกรรมต่าง ๆ เป็นไปตามบรรทัดฐานทางสังคมที่มีความชัดเจนแน่นอน และเป็นไปตามวัฒนธรรมของสังคม

ลักษณะสำคัญของสถาบัน
1) สถาบันสังคมเป็นนามธรรม สถาบันสังคมไม่ใช่ตัวบุคคลหรือกลุ่มคน ไม่ใช่สิ่งของ แต่เป็นแบบแผนพฤติกรรมซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อเป็นแบบแผนในการปฏิบัติร่วมกันของสมาชิกทุกคน
2) สถาบันสังคมเกิดจากการเชื่อมโยงบรรทัดฐานต่าง ๆ ทางสังคม ซึ่งได้แก่ วิถีชาวบ้าน จารีต และกฎหมาย โดยเป็นส่วนของวัฒนธรรมในสังคม
3) สถาบันสังคมเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ร่วมกันของสมาชิกในสังคม และเพื่อการคงอยู่ของสังคม
4) สถาบันสังคมเกิดจากการยอมรับร่วมกันของสมาชิกในสังคม สถาบันสังคมจึงเป็นระเบียบแบแผน พฤติกรรมที่ชัดเจนและเปลี่ยนแปลงได้ยากเนื่องจากเกิดขึ้นโดยการยอมรับร่วมกันของสมาชิกในสังคม
องค์ประกอบของสถาบันของสังคม
1) กลุ่มสังคม สถาบันสังคมประกอบไปด้วยกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่สนับสนุนให้การกระทำระหว่างสมาชิกบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน โดยประกอบด้วยสถานภาพหรือตำแหน่งทางสังคม และบทบาทหน้าที่ เพื่อให้แบบแผนพฤติกรรมดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ของกลุ่มสังคมนั้น
2) หน้าที่ของสถาบันทางสังคม หมายถึง วัตถุประสงค์ในการสนองความต้องการของสังคมในด้านต่างๆ ของสถาบันสังคมแต่ละสถาบัน
3) แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันนั้น ได้แก่ บรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งประกอบไปด้วยวิถีชีวิต ทำให้กิจกรรมในการดำเนินชีวิตของสมาชิกในสังคมสามารถสนองวัตถุประสงค์ของสถาบันสังคมนั้น
4) สัญลักษณ์ และค่านิยม ทำให้สมาชิกเกิดอุดมการณ์และศรัทธาต่อสถาบันสังคม เช่น ธงชาติ เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันการเมืองการปกครอง เสรีภาพและความเสมอภาค เป็นค่านิยมของสถาบันการเมืองการปกครองในสังคมประชาธิปไตย เป็นต้น
สถาบันสังคมที่สำคัญ สถาบันสังคม แยกได้ 5 สถาบัน ดังนี้
สถาบันสังคม หมายถึง สถาบันสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับแบบแผนการสมรส การอบรมเลี้ยงดูบุตร และแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องตามสังคม
1. สถาบันครอบครัว มีองค์ประกอบ ดังนี้
กลุ่มสังคมในสถาบันครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน เช่น บิดา มารดา บุตร วงศาคณาญาติที่เกี่ยวข้องโดยสายโลหิต หรือการสมรส หรือมีบุตรบุญธรรม
หน้าที่ของสถาบันครอบครัว1. หน้าที่ผลิตสมาชิกใหม่ให้แก่สังคม เพื่อทดแทนสมาชิกของสังคมที่สิ้นชีวิตลง2. หน้าที่เลี้ยงดูสมาชิกใหม่ให้มีชีวิตรอด เนื่องจากทารกแรกเกิดและเด็กไม่สามารถดูแลตนเองได้3. หน้าที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมไปสู่สมาชิกใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมเพื่อให้เด็กเติบโตเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม4. หน้าที่อื่น ๆ ได้แก่ การสนองความต้องการทางจิตใจ ทำหน้าที่ให้ความรักความอบอุ่นสมาชิก
แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิก สถาบันครอบครัวประกอบไปด้วยแบบแผนพฤติกรรมซึ่งเป็นบรรทัดฐานทางสังคม เช่น ประเพณีการหมั้น สมรส เป็นต้น สถาบันครอบครัวในสังคมแต่ละแห่งย่อมมีแบบแผนพฤติกรรมแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมของสังคม เช่นมีประเพณีการสมรสแตกต่างกันไป เป็นต้น
สัญลักษณ์และค่านิยม สัญลักษณ์ของสถาบันครอบครัวที่สำคัญ คือ แหวนหมั้น แหวนแต่งงาน เป็นต้น สถาบันครอบครัวในแต่ละสังคมย่อมมีค่านิยมต่างกันตามวัฒนธรรมของสังคม เช่น สังคมสมัยใหม่ สามีและภรรยามีค่านิยมในการหาเลี้ยงครอบครัวเท่าเทียมกัน การร่วมรับผิดชอบกิจกรรมต่าง ๆ ในครอบครัวอย่างเท่าเทียมกัน
2. สถาบันการศึกษา หมายถึง สถาบันสังคมซึ่งเกี่ยวข้องกับแบบแผนการขัดเกลาและการถ่ายทอดวัฒนธรรม การให้ความรู้ และการฝึกทักษะอาชีพ เพื่อความเป็นสมาชิกที่เหมาะสมของสังคม
กลุ่มสังคมในสถาบันการศึกษา ได้แก่ โรงเรียน มหาวิทยาลัย กระทรวง ทบวง กรม ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา กลุ่มสังคมเหล่านี้จะประกอบไปด้วยตำแหน่ง หรือสถานภาพทางสังคม เช่น ครู อาจารย์ เป็นต้น

หน้าที่ของสถาบันการศึกษา
1. ถ่ายทอดความรู้ วัฒนธรรม และทักษะ อันจำเป็นในการดำรงชีพของสมาชิกในสังคม
2. สร้างบุคลิกภาพทางสังคมให้แก่สมาชิก สามารถปรับตนในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและปฏิบัติตนให้มีคุณค่าแก่สังคม
3. การกำหนดสถานภาพทางสังคม และชนชั้นทางสังคมสถานภาพจากสถาบันการศึกษา เป็นส่วนประกอบสำคัญประการหนึ่งในการจัดช่วงชั้นทางสังคม
4. หน้าที่ในการผลิตกำลังแรงงานทางเศรษฐกิจ ตามความต้องการทางสังคม
5. หน้าที่ในการสร้างกลุ่มเพื่อนเป็นหน้าที่แฝงของสถาบันการศึกษา ซึ่งก่อให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อนเพื่อสนองความต้องการทางจิตใจของสมาชิกในสังคม
แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิก สถาบันการศึกษาประกอบไปด้วยแบบแผนพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อสนองต่อหน้าที่ต่าง ๆ ของสถาบันดังที่กล่าวมาแล้ว เช่นการจัดระบบการเรียนการสอน เป็นต้น แบบแผนพฤติกรรมดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เหมาะสมแก่ความต้องการของสังคมปัจจุบัน
สัญลักษณ์และค่านิยม สัญลักษณ์ของสถาบันการศึกษา มักปรากฏในองค์การทางการศึกษาต่าง ๆ เช่น เข็มเครื่องหมายของโรงเรียน เป็นต้น แต่ละสังคมย่อมมีปรัชญาและค่านิยมทางการศึกษาต่างกัน
3. สถาบันศาสนา หมายถึง สถาบันที่ทำหน้าที่ช่วยสนองความต้องการด้านเสริมกำลังใจให้แก่สมาชิกในสังคมเพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมด้วยความปกติสุขโดยปฏิบัติตามคติความเชื่อ
กลุ่มสังคมในสถาบันศาสนา ที่สำคัญได้แก่ คณะสงฆ์ และกลุ่มผู้ปฏิบัติธรรม โดยมีตำแหน่งหรือสถานภาพทางสังคมต่างๆ กัน ต่างมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตามสถานภาพทางสังคมดังกล่าว
หน้าที่ของสถาบันศาสนา1. สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่สังคม2. สร้างเสริมและถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่สังคม3. ควบคุมสมาชิกให้ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม4. สนองความต้องการทางจิตใจแก่สมาชิกเมื่อสมาชิกเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ
แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิก โดยทั่วไปแบบแผนพฤติกรรมในการปฏิบัติของสมาชิกในสังคม ย่อมเป็นไปตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ และเป็นไปตามประเพณีทางศาสนานั้น ๆ กิจกรรมของประเพณีทางศาสนามีความสำคัญในการสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกในสังคม
สัญลักษณ์และค่านิยม สัญลักษณ์ของสถาบันศาสนาย่อมแตกต่างกันไปตามศาสนาที่สมาชิกยอมรับนับถือ สำหรับค่านิยมของสถาบันศาสนาย่อมแตกต่างกันไปตามหลักของศาสนานั้น ๆ
4. สถาบันเศรษฐกิจ หมายถึง สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการสนองความต้องการเกี่ยวกับความจำเป็นทางวัตถุ เพื่อการดำรงชีวิต เป็นแบบแผนพฤติกรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ การผลิตการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต
กลุ่มสังคมในสถาบันเศรษฐกิจ กลุ่มสังคมในสถาบันเศรษฐกิจมีจำนวนมาก เช่น ร้านค้า โรงงานและองค์กรเศรษฐกิจต่าง ๆ แต่ละกลุ่มสังคมเหล่านี้ประกอบไปด้วยตำแหน่งและบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เช่น ผู้จัดการ พนักงาน กรรมกร เกษตรกร เป็นต้น เพื่อกระทำบทบาทและหน้าที่ดังกล่าว
หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ1. ผลิตสินค้า เพื่อสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม ซึ่งประกอบไปด้วยสินค้าพื้นฐานจนถึงสินค้าอำนวยความสะดวก2. การกระจายสินค้าที่ผลิตได้ไปสู่สมาชิกในสังคมอย่างทั่วถึง3. การกระจายบริการต่าง ๆ ไปสู่สมาชิกในสังคม4. การกำหนดสถานภาพทางสังคมและชนชั้นทางสังคม 5. สถาบันทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดหน้าที่สำคัญ คือ เป็นพื้นฐานอำนาจทางการเมือง
แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติตนของสมาชิก สถาบันเศรษฐกิจประกอบด้วยแบบแผนพฤติกรรมที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคม เช่น แบบแผนในการผลิตสินค้า แบบแผนของการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น อาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอุตสาหกรรมมีแบบแผนการประกอบอาชีพต่างกัน
สัญลักษณ์และค่านิยม ส่วนใหญ่เป็นสัญลักษณ์ขององค์การของสถาบันเศรษฐกิจนั้น ๆ เช่น เครื่องหมายทางการค้า สำหรับค่านิยมและความเชื่อเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจย่อมแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมของแต่ละสังคม
5. สถาบันทางการเมืองการปกครอง หมายถึง สถาบันสังคมที่เป็นแบบแผนที่เกี่ยวข้องกับการสนองความต้องการของสมาชิกในการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบของสังคม ควบคุมให้กลุ่มคนอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข
กลุ่มสังคมในสถาบันการเมืองการปกครอง ประกอบด้วยกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ กลุ่มสังคมที่มีการจัดระเบียบอย่างชัดแจ้ง ที่เรียกว่า องค์การ เช่น พรรคการเมือง กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น แต่ละองค์การประกอบด้วยตำแหน่งหรือสถานภาพทางสังคม เพื่อกระทำบทบาทและหน้าที่ตามสถานภาพนั้น
องค์กรของสถาบันการเมืองที่สำคัญ มีดังนี้
1. 
ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ องค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย2. ฝ่ายบริหาร คือ องค์กรที่ทำหน้าที่ในการบริหารและการบริการให้แก่สมาชิกโดยส่วนรวม 3. ฝ่ายตุลาการ คือ องค์การที่ทำหน้าที่ตีความกฎหมายในกรณีที่สมาชิกในสังคมเกิดความขัดแย้งระหว่างกัน 4. ฝ่ายองค์กรอิสระ คือ องค์กรที่ประกอบด้วยคณะบุคคลที่ตั้งขึ้นด้วยวิธีปลอดจากอำนาจอิทธิพลของบุคคลที่มีส่วนอาจได้เสียกับกิจการอันเป็นหน้าที่ขององค์กรอิสระนั้น โดยเฉพาะอำนาจของข้าราชการเมืองและข้าราชการประจำ
หน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง1. สร้างระเบียบกฎเกณฑ์ให้แก่สังคม เช่น สถาบันเศรษฐกิจย่อมจะต้องมีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเงิน2. วินิจฉัยข้อขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม มีองค์การทางตุลาการคอยให้ความยุติธรรมแก่สมาชิกที่มีความขัดแย้งต่อกัน3. หน้าที่ในการบริหารองค์การของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น4. การป้องกันและรักษาความปลอดภัยทั้งภายในสังคมและจากภายนอกสังคม
ลักษณะโดยทั่วไปของสถาบัน- สถาบันเป็นนามธรรม
- สถาบันแต่ละสถาบันเกิดจากการรวมหน้าที่ด้านเดียวกันไว้รวมกัน
- เปลี่ยนแปลงได้ยาก
 

การจัดระเบียบทางสังคม


สังคมเป็นที่รวมของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อมีการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคลเพิ่มมากขึ้นสังคมก็ยิ่งมีความแตกต่างในหลายๆ ด้านเกิดขึ้นความแตกต่างดังกล่าว หากมีการควบคุมและจัดระเบียบของกลุ่มและในสังคมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว สังคมก็อาจสับสนวุ่นวายขึ้นได้

ความหมายของการจัดระเบียบสังคม
การจัดระเบียบสังคม เป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยมีสมาชิกส่วนรวมของสังคมไทยยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกันและสืบทอดจนเป็นบรรทัดฐานในการดำรงชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคม
สาเหตุที่ต้องมีการจัดระเบียบสังคม1. สมาชิกในสังคมมีความแตกต่างกัน
2. แต่ละคนมุ่งแต่ผลประโยชน์ของตน จนเกิดความขัดแย้งได้
ความจำเป็นที่ต้องมีการจัดระเบียบสังคม1. เนื่องจากสมาชิกในสังคมมีความแตกต่าง ทั้งในทางกายภาพและในทางสังคม2. เนื่องจากสมาชิกในสังคมมีวัตถุประสงค์และมีความต้องการร่วมกันในสังคมมนุษย์ทุกๆ สังคมสมาชิกแต่ละคนย่อมมีความต้องการพื้นฐานร่วมกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และความต้องการนั้น3. เพื่อป้องการขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การต่อสู้ การใช้อำนาจ ดังนั้นจึงต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อให้ความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมราบรื่น

วิธีการจัดระเบียบทางสังคม1. บรรทัดฐาน2. สถานภาพ – บทบาท และการจัดชั้นยศ3. ค่านิยม4. การขัดเกลาทางสังคม
5. การควบคุมทางสังคม

องค์ประกอบของการจัดระเบียบ

บรรทัดฐาน
บรรทัดฐานทางสังคม หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่สังคมยอมรับเป็นแนวทางให้สมาชิกประพฤติปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ สรุปได้ว่า...
1. บรรทัดฐานทางสังคม เป็นระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่สมาชิกในสังคมยอมรับร่วมกัน และได้ประพฤติสืบต่อกันมา2. บรรทัดฐานทางสังคมเป็นระเบียบ กล่าวคือ แบบแผนความประพฤติที่เห็นว่าถูกต้องในสถานการณ์หนึ่งอาจนำไปใช้ในอีกสถานการณ์หนึ่งไม่ได้
ประเภทของบรรทัดฐานทางสังคม1. วิถีประชา/วิถีชาวบ้าน (Folkways) หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติด้วยความเคยชิน เนื่องจากได้รับการปลูกฝังถ่ายทอดมาตั้งแต่วัยเด็กจนเติบใหญ่ แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนอย่างเข้มงวด แต่อาจถูกคนอื่นเยาะเย้ย ถากถาง หรือได้รับการนินทา ทำให้สมาชิกต้องปฏิบัติตามวิถีชาวบ้าน จนเกิดความเป็นระเบียบทางสังคมในที่สุด2. จารีต (Mores) หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกในสังคมอย่างจริงจัง เนื่องจากมีผลกระทบต่อระบบสัมพันธ์ของสมาชิกเป็นส่วนรวม3. กฎหมาย (Laws) หมายถึง กฎเกณฑ์ของความประพฤติซึ่งสร้างขึ้นโดยองค์การทางการเมืองการปกครอง และโดยได้รับการรับรองจากองค์กรของรัฐ
กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1) เป็นกฎเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในสังคมที่บัญญัติเป็นทางการโดยองค์การของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมาย2) มีการประกาศรายละเอียดของกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร 3) มีองค์การที่หน้าที่ควบคุมให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎหมาย 4) มีบทลงโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนกฎหมาย
ข้อสังเกตเกี่ยวกับบรรทัดฐาน
1. บรรทัดฐานแต่ละท้องถิ่นสอดคล้องหรือแตกต่างก็ได้
2. บรรทัดฐานแต่ละท้องถิ่นสามารถเปลี่ยนแปลงได้
3. สังคมชนบทมักใช้จารีตมากกว่า ส่วนสังคมเมืองมักใช้กฎหมายเป็นบรรทัดฐาน
ความสัมพันธ์ของคนในสังคม


สถานภาพ
สถานภาพ (
Status) : ตำแหน่งที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคมหรือฐานะทางสังคม (Social Position) ของคนในสังคมที่ถูกกำหนดไว้และดำรงอยู่
สถานภาพทางสังคม หมายถึง ตำแหน่งของบุคคลซึ่งได้มาจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มและของสังคม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการจัดระเบียบสังคม เนื่องจากการกระทำระหว่างสมาชิกในสังคมย่อมเป็นไปตามสถานภาพที่ตนดำรงอยู่
ประเภทของสถานภาพทางสังคม1) สถานภาพทางสังคมโดยกำเนิด (Ascribed Status) เป็นสถานภาพทางสังคมที่สมาชิกได้รับโดยกำเนิด ที่สำคัญได้แก่ เชื้อชาติ สัญชาติ เพศ (ชายหรือหญิง) อายุและสถานภาพอันเกิดจากการเป็นสมาชิกในครอบครัว เหล่านี้นับเป็นสถานภาพโดยกำเนิดทั้งสิ้น2) สถานภาพทางสังคมโดยความสามารถของบุคคล (Achieved Status) เป็นสถานภาพทางสังคมที่เกิดจากการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับสถานภาพโดยถือความสามารถตามเกณฑ์ที่สังคมกำหนด 3) ผลอันเกิดจากสถานภาพทางสังคม มีดังนี้(1) ทำให้เกิดสิทธิและหน้าที่(2) ทำให้เกิดเกียรติยศจากสถานภาพทางสังคมที่สมาชิกดำรงอยู่(3) ทำให้เกิดการจัดช่วงชั้นทางสังคม
ที่มาของสถานภาพ
1. สถานภาพที่ติดตัวมา เช่น อายุ
เพศ, ชาติกำเนิด, เชื้อชาติ
2. สถานภาพที่ได้มาภายหลัง เช่น สถานภาพระบบเครือญาติ
สถานภาพทางการศึกษา, อาชีพ
หน้าที่ของสถานภาพ
1 . กำหนดบทบาท
2 . ใช้ในการติดต่อร่วมกันใน สังคมขนาดใหญ่ ๆ
3 . ใช้เปรียบเทียบฐานะสูง 
– ต่ำทางสังคม


บทบาท
บทบาท (
Role) : หน้าที่/พฤติกรรมที่ปฏิบัติตามสถานภาพที่ได้รับ การปฏิบัติบทบาทตามสถานภาพที่เหมาะสมและถูกต้องทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมดำเนินไปได้ด้วยดี
บทบาททางสังคม
1. บทบาททางสังคมเป็นการกระทำตามสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดในสถานภาพทางสังคม บทบาทและสถานภาพทางสังคมจะทำให้การกระทำระหว่างกันทางสังคมของสมาชิกดำเนินไปอย่างสอดคล้องกลมกลืน และช่วยให้การดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมมีความราบรื่น
2. ความสำคัญของบทบาททางสังคม
บทบาททางสังคมก่อให้เกิดการกระทำตามสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกในสังคมตามสถานภาพที่ตนดำรงอยู่ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนการรับและการให้ประโยชน์ระหว่างกัน
หากปราศจากการกำหนดบทบาททางสังคม รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมคงจะขาดระเบียบแลปราศจากทิศทางแน่นอน
บทบาทขัดกัน
สมาชิกในสังคมแต่ละคนมีบทบาทหลายอย่างในเวลาเดียวกัน และการในกระทำอีกบทบาทหนึ่งอาจจะขัดกับอีกบทบาทหนึ่งก็ได้ การขัดกันในบทบาทย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ สมาชิกในสังคมต้องตัดสินใจ ตามวาระและโอกาสที่เกิดขึ้น
ข้อสังเกต
1. สถานภาพ 
– บทบาทเป็นเรื่องความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับสังคม
2. ทุกคนย่อมมีสถานภาพของตนเองและมีหลายสถานภาพ
3. สถานภาพบางอย่างเป็นสถานภาพที่ต่อเนื่อง
4. ยิ่งสังคมซับซ้อนเพียงใด บทบาทยิ่งแตกต่างไปมากขึ้นเท่านั้น
5. โดยปกติสถานภาพจะบ่งถึงบทบาทเสมอ แต่ในบางสถานการณ์มีสถานภาพอาจไม่มีบทบาทก็ได้
6. การมีหลายสถานภาพก่อให้เกิดหลายบทบาท บางครั้งก็อาจทำให้เกิดบทบาทที่ขัดแย้ง

ค่านิยม
ค่านิยม (Social Value) : สิ่งที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับและเห็นว่ามีคุณค่า เพราะว่าเป็นความสัมพันธ์ที่สังคมยอมรับ หรือเราอาจจะเรียกว่า กระแสทางสังคม” ก็ได้
ค่านิยมมีทั้งของบุคคล และ ค่านิยมของสังคม
ค่านิยมของสังคม
ค่านิยมของสังคม บางทีเรียกว่า 
(ระบบคุณค่าของสังคมหรือ (สัญญาประชาคม)
ค่านิยมของสังคม เป็นหัวใจหรือเป้าหมายที่สังคมปรารถนาที่จะให้เกิดขึ้น เช่น เสรีภาพ ความรักชาติ ความดี ความยุติธรรม

การขัดเกลาทางสังคม
การขัดเกลาทางสังคม 
(Socialization) หมายถึง การถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่สมาชิกวิธีการขัดเกลาทางสังคม
การขัดเกลาทางสังคม คือ การปลูกฝังระเบียบวินัย ความมุ่งหวังให้รู้จักบทบาทและทัศนคติ ความชำนาญหรือทักษะ ทั้งนี้ เพื่อให้สมาชิกอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ด้วยดี การขัดเกลาทางสังคมช่วยให้สมาชิกได้เรียนรู้ และปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม การอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมอาชีพหรือสื่อมวลชนต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้การกระทำต่อผู้อื่นเป็นไปอย่างเหมาะสมรู้จักปฏิบัติตนในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม ซึ่งจะช่วยให้สังคมมีระเบียบเพิ่มขึ้น
1. การขัดเกลาโดยตรง 
โดยการบอกว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ
2. การขัดเกลาโดยอ้อม ไม่ได้บอกโดยตรง แต่เราเรียนรู้จากการ กระทำของคนอื่น หรือ ซึมซับจากสื่อ เช่น หนังสือพิมพ์นิตยสารวิทยุ ฯลฯ

การควบคมทางสังคม
การควบคุมทางสังคม (
Social Control)
เป็นกระบวนการทางสังคมในการจัดระเบียบพฤติกรรมมนุษย์/สมาชิกในสังคมให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งการไร้ระเบียบทางสังคม (Social Disorganization) นอกจากนี้ยังต้องรู้อีกหลายๆ เรื่อง เช่น ปรากฏการณ์ทางสังคม (Social Phenomena) ว่ามีความเป็นมาอย่างไร หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) ว่าจะมีแนวโน้มเป็นไปในทางใดและอะไรเป็นปัจจัยผลักดันเป็นต้น และที่สำคัญที่สุดของสังคมได้แก่ วัฒนธรรม=ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในสังคม อันเป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่สังคมยอมรับและสืบทอดกันต่อๆ มา
1. การควบคุมทางสังคม หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ทางสังคมที่มุ่งหมายให้สมาชิกของสังคมยอมรับและปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม2. ลักษณะของการควบคุมทางสังคม
1) การควบคุมทางสังคมโดยการจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่ การ ยกย่อง ชมเชย ให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม ตามสถานภาพและบทบาททางสังคมที่ตนดำรงอยู่ 2) การควบคุมทางสังคมโดยการลงโทษสมาชิกละเมิดฝ่าฝืนบรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่(1) ผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนวิถีชาวบ้าน จะได้รับปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสมาชิกผู้อื่น ได้แก่ การถูกติเตียน นินทา(2) ผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนจารีต จะได้รับการต่อต้านสมาชิกผู้อื่นรุนแรงกว่าผู้ที่ละเมิดวิถีชาวบ้าน เช่น การถูกประชาทัณฑ์ หรือขับไล่ออกไปจากท้องถิ่น(3) ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย จะได้รับการลงโทษตามกฎหมายกำหนด โดยหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่เป็นผู้ควบคุมบทลงโทษอย่างชัดเจน


ลักษณะพื้นฐานของสังคมและวัฒนธรรมไทยสมบูรณ์




ที่มา : https://sites.google.com/site/khunraphin2/sm42

1 ความคิดเห็น:

  1. Casino Gaming in NV - DRMCD
    With more than 2,000 slot machines and 60 table games available in 인천광역 출장샵 nearly every casino in 남원 출장안마 the state, 광양 출장마사지 it makes sense to make an appointment at the casinos and 남양주 출장샵 offer 광명 출장마사지

    ตอบลบ