วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บทที่ 5 เรื่อง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


บทที่ 5 เรื่อง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


เรื่อง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสังคมทุกสังคมจะ
เจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นได้ ย่อมต้องมีระเบียบวินัยและผู้นำของสังคมเป็นหลักในการปกครอง ผู้นำ
ของสังคมระดับประเทศโดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของประธานาธิบดี
หรือพระมหากษัตริย์ สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น
 พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ
ทรงมิได้ใช้พระราชอำนาจเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง แต่มีองค์การหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ
 กันไป พระราชอำนาจทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฐานะประมุขของรัฐ หรือในฐานะอื่น ได้ถูกกำหนดไว้โดยชัด
แจ้งในรัฐธรรมนูญ
สาระการเรียนรู้ 



1. ประมุขของรัฐ
2. 
อำนาจอธิปไตย 

ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ 
3. พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับกำหนดรูปแบบการปกครองและประมุขแห่งรัฐไว้ว่า ประเทศ
ไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการเทิดทูนพระมหากษัตริย์ คือ ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และรัฐธรรมนูญยังกำหนด
พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของประชาชน โดยใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล การกำหนดเช่นนี้หมายความว่าอำนาจต่าง ๆ จะใช้ในพระปรมาภิไธยของ
พระมหากษัตริย์ ซึ่งในความเป็นจริงอำนาจเหล่านี้มีองค์กรเป็นผู้ใช้ ฉะนั้นการที่บัญญัติว่า 
พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการผ่านทางองค์กรต่าง ๆ นั้น
 จึงเป็นการเทิดพระเกียรติ แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่องค์กรที่เป็นผู้พิจารณานำขึ้นทูลเกล้าถวาย
เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลง
พระปรมาภิไธย


พระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญของไทยแม้จะได้รับการเชิดชูให้อยู่เหนือการเมืองและกำหนดให้
มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการปฏิบัติทางการปกครองทุกอย่าง แต่พระมหากษัตริย์ก็ทรง
มีอำนาจบางประการที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ และ
เป็นพระราชอำนาจที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัยจริง ๆ ได้แก่ การแต่งตั้งคณะองคมนตรี 

การแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ และ
สมุหราชองครักษ์ การแก้ไขเพิ่มเติมกฏมณเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ การพระราชทาง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นต้น
พระราชอำนาจที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองอย่างแท้จริง คือ พระราชอำนาจในการยับยั้ง

ร่างพระราชบัญญัติ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการเห็นชอบ
ของรัฐสภามาแล้วและนายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ แต่พระองค์อาจใช้พระราชอำนาจยับยั้งได้ เช่น กรณีพระราชบัญญัติข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษา ซึ่งรัฐสภาจะต้องนำร่างพระราชบัญญัติที่ถูกยับยั้งนั้นไปพิจารณาใหม่

อำนาจอธิปไตย หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ
การปกครองของรัฐที่มีอิสระ เสรีภาพ และมีความเป็นเอกราช มีอำนาจในการบริหารราชการ ทั้งกิจการภายในและนอกประเทศได้อย่างเต็มที่ โดยทั่วไปอำนาจอธิปไตยแยกใช้เป็น ลักษณะ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ระบุว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย 

พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติ
แห่งรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งหมายความว่า ในทางการเมืองประชาชนมีอำนาจสูงสุด แต่การใช้อำนาจทาง
กฎหมายต้องใช้ผ่านสถาบันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลที่พิพากษา อรรถคดีตามกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้วในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ และตามขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เท่านั้น ดังนั้นองค์ประกอบของ
ผู้ใช้อำนาจก็คือ ต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร และสถาบันตุลาการ อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าอำนาจอธิปไตยตามกฎหมายไม่ได้อยู่ที่รัฐสภาเท่านั้น แต่แยกกันอยู่ใน 3สถาบัน
หลักดังกล่าว ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุว่าอำนาจใดใหญ่ที่สุดหรือสำคัญกว่ากัน
การกำหนดให้แยกการใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็น ส่วน และให้มีองค์กร ฝ่าย เป็นผู้รับผิดชอบไป

แต่ละส่วนนี้ เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยที่ไม่ต้องการให้มีการรวมอำนาจ แต่ต้องการให้มีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน เพราะถ้าให้องค์กรใดเป็นผู้ใช้อำนาจมากกว่าหนึ่งส่วนแล้ว อาจเป็นช่องว่าง
ให้เกิดการใช้อำนาจแบบเผด็จการได้ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร
 และอำนาจตุลาการ มีดังนี้
1. อำนาจนิติบัญญัติ หรือ สถาบันนิติบัญญัติ หมายถึง สถาบันที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย คือรัฐสภา

 ซึ่งมีรูปแบบเป็นสภาคู่ หรือ สภา ประกอบด้วย
1.1 สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จำนวน 400 คน และการเลือกตั้งแบบสัดส่วน จำนวน 8คน รวม 480 คน มีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย
1.2 วุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนและการสรรหา มีจำนวน 150 คน มีหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองพระราชบัญญัติโดยถี่ถ้วนไม่ต้องผูกพันกับฝ่ายรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งและถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของบ้านเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครอง อัยการสูงสุด เป็นต้น
2. อำนาจบริหาร หรือ สถาบันบริหาร หมายถึงบุคคล คณะบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรที่นำ

นโยบายของรัฐไปดำเนินการและนำไปปฏิบัติ สถาบันบริหารนั้นนอกจากจะเป็นสถาบันสร้างกฎหมาย
แล้ว ยังเป็นสถาบันสร้างนโยบายบริหารประเทศด้วย สถาบันบริหารจะนำนโยบาย และกฎหมายที่ผ่าน
ความเป็นชอบของรัฐสภาแล้วไปดำเนินหรือไปปฏิบัติ องค์ประกอบของสถาบันบริหารประกอบด้วย
2.1 ข้าราชการการเมือง คือข้าราชการซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนให้มาทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี เพื่อบริหารบ้านเมือง
2.2 ข้าราชการประจำ คือ บุคลากรซึ่งเป็นกลไกหรือเครื่องมือในการนำนโยบายและกฎหมายไปปฏิบัติ ซึ่งต้อง
ปฏิบัติงานอย่างตรงไปตรงมา มีประสิทธิภาพสูง มีความรอบรู้ในหลักวิชาการ มีประสบการณ์ 

และมีระเบียบประเพณีการประพฤติปฏิบัติ
ที่เป็นแบบอย่าง มีสายการบังคับบัญชาของข้าราชการประจำอย่างชัดเจน มีการแบ่งงานกันทำ

เฉพาะอย่างตามความชำนาญ
3. อำนาจตุลาการ หรือ สถาบันตุลาการ หมายถึง ศาลและผู้พิพากษาที่ปฏิบัติหน้าที่ในนามของรัฐ 

หรือในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ อำนาจตุลาการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีสาระสำคัญ ประการดังนี้
3.1 อำนาจตุลาการในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญของไทยในอดีตได้แยกอำนาจระหว่าง

อำนาจตุลาการ
และอำนาจนิติบัญญัติไว้อย่างชัดเจนโดยจัดอำนาจตุลาการให้มีความอิสระจากฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ รัฐสภาจะก้าวก่ายอำนาจของศาลไม่ได้
3.2 ศาล รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้วางหลักทั่วไปเกี่ยวกับหลักการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีว่าเป็นอำนาจศาล ซึ่งศาลในที่นี้หมายถึง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลทหาร ศาลยุติธรรม และศาลอื่นๆ

พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

พระราชสถานะและพระราชอำนาจที่บัญญัติไว้ใน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับยืนยันความเป็นประมุขสูงสุดของพระมหากษัตริย์ โดยบัญญัติว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใด

จะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ หมายความว่า ผู้ใดจะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ไม่ได้ ผู้ละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง
 รัฐธรรมนูญบางฉบับถึงกับไม่ยอมให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ได้รับการเชิดชู

ให้อยู่เหนือการเมือง และกำหนดให้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการดำเนินการทางการเมือง
การปกครอง รัฐธรรมนูญได้กำหนดพระราชอำนาจของ
พระมหากษัตริย์ ดังนี้
1. ทรงใช้อำนาจอธิปไตย พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจอธิปไตย เช่น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร 

และอำนาจตุลาการ ดังนี้
ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา หมายความว่า พระมหากษัตริย์ทางใช้อำนาจในการออกกฎหมาย

 คำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา เมื่อรัฐสภาร่างกฎหมายขึ้นแล้วจะทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายตามขั้นตอนของ
รัฐธรรมนูญ
ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี หมายความว่า การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งนายกรัฐมนตรี
พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีดำเนินการไปนั้น ถือว่ากระทำไปในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้เพราะบรรดาพระราชบัญญัติพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ปฏิบัติและรับผิดชอบทั้งสิ้น โดยนายกรัฐมนตรีจะต้องกราบบังคมทูลและลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ พระราชอำนาจทางด้านบริหารของพระมหากษัตริย์ดังกล่าวได้แก่ การตราพระราชกฤษฎีกาไม่ขัดต่อกฎหมาย การประกาศใช้และยกเลิกใช้กฎอัยการศึก การประกาศสงคราม เมื่อได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา การทำสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก หรือสนธิสัญญาอื่นกับนานาประเทศ หรือกับองค์การระหว่างประเทศ และการพระราชทานอภัยโทษ
ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล หมายถึง ศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่างๆ ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราช

อำนาจในการแต่งตั้งและการพ้นจาก ตำแหน่งของผู้พิพากษาและตุลาการก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้พิพากษา
และตุลาการจะต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์
2. ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้ หมายความว่า พระมหากษัตริย์ไทย

ทรงอยู่ภายใต้กฎหมายก็เพียงเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ทรงอยู่เหนือกฎหมายอื่น ๆ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องตามกฎหมายใด ๆ มิได้ ทั้งนี้ก็เพราะต้องการเทิดทูนองค์พระประมุขของชาติ 
พระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำผิด (The King can do no wrong)หมายความว่า พระมหากษัตริย์ไม่ต้อง
รับผิดชอบในพระบรมราชโองการหรือการกระทำในพระปรมาภิไธยของพระองค์ในกรณีที่มีความเสียหายบกพร่องเกิดขึ้น ผู้ลงนามรับสนองพระราชโองการจะต้องรับผิดชอบ เพราะในทางปฏิบัตินั้น พระมหากษัตริย์มิได้ทรงริเริ่ม หรือดำเนินข้อราชการต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง จะต้องมีเจ้าหน้าที่หรืองค์กรหนึ่งองค์กรใดเป็นฝ่ายดำเนินการและกราบทูลขึ้นมา จะไปละเมิดกล่าวโทษพระมหากษัตริย์มิได้
3. ทรงเป็นุพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก นั่นก็คือทรงเป็นผู้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาขณะเดียวกันก็ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก คือ ทรงทำนุบำรุงอุปถัมภ์ศาสนาทั้งปวงในขอบขันฑ

สีมาด้วย โดยไม่เลือกแบ่งแยกว่าเป็นศาสนาใด สถาบันพระมหากษัตริย์กับศาสนาจึงเป็นสัญลักษณ์
พิเศษอย่างหนึ่งของชาติไทย รัฐธรรมนูญบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามกะและเป็นอง
ค์อุปถัมภ์ค้ำชูศาสนาอื่น ๆ อย่างเสมอหน้ากัน
4. ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย คำว่า พระมหากษัตริย์ หมายถึง นักรบผู้ยิ่งใหญ่ ด้วยเหตุนี้พระมหากษัตริย์ในอดีตจึงต้องทรงนำทัพออกศึกด้วยพระองค์เอง ปัจจุบันแม้การรบจะไม่เกิดมีขึ้นแล้วก็ตาม

 แต่พระมหากษัตริย์ก็ยังทรงเป็นมั่งขวัญของเหล่าทหารหาญ เหนือสิ่งอื่นใดทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพ
ไทย ตามที่รัฐธรรมนูญได้ถวายพระเกียรติยศไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ว่า พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพสยาม และนับแต่วาระนั้นเป็นต้นมา รัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นภายหลังก็ได้มีบทบัญญัติทำนองเดียวกันนี้ปรากฏอยู่ทุกฉบับ พระราชสถานะ 
จอมทัพไทย ตามรัฐธรรมนูญนี้ได้จำหลักลงในสำนึกของทหารไทยทุกคนเริ่มตั้งแต่ธงไชยเฉลิมพล
ประจำกองทหารนั้น ก็เป็นมงคลสูงสุดสำหรับหน่วย ด้วยเหตุว่าเป็นของที่ได้รับพระราชทานและ
ได้บรรจุเส้นพระเจ้า(เส้นผม) ไว้ในพระกรัณฑ์(ตลับ) บนยอดปลายสุดของธง ดังนั้นเมื่อ กองทหารและ
ธงไชยเฉลิมพลไปปรากฏอยู่ ณ ที่ใด ก็เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้เสด็จพระราชดำเนินร่วมไปด้วย
ในกองทัพนั้น ทหารไทยจึงมีขวัญมั่นคงเพราะต่างทราบดีว่าตนปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยเพื่อประโยชน์สูงสุดของชาติเช่นเดียวกับพระประมุขของตนนั่นเอง
5. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของชาติ ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานเกียรติยศแก่ชน
ทุกชั้นไม่ว่าจะเป็นฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ สมณศักดิ์ (ฐานันดรศักดิ์ของพระภิกษุสงฆ์) และบรรดาศักดิ์ (ฐานันดรศักดิ์ของขุนนาง ข้าราชการ) และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานและ
เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกตระกูลทุกลำดับชั้นด้วย การที่จะทรงสถาปนาฐานันดรศักดิ์หรือพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ในสมัยราชาธิปไตยพระราชอำนาจเหล่านี้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแล้ว การสถาปนาและถอดถอนฐานันดรศักดิ์
การพระราชทานและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีรับสนองพระบรมราชโองการ


อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังคงมีธรรมเนียมที่จะทรงสถาปนาฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์และพระราชทานสมณศักดิ์อยู่ แต่สำหรับบรรดาศักดิ์ขุนนางหรือข้าราชการนั้น ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว
6. ทรงเลือกและแต่งตั้งองคมนตรี คณะองคมนตรี คือ คณะที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อองค์พระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา องคมนตรีประกอบด้วยผู้มทรงคุณวุฒิต่าง ๆ โดยมีประธานองคมนตรีคนหนึ่งกับองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน การเลือก การแต่งตั้ง และการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพียงแต่ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งหรือพ้นจากตำแหน่งขององค์มนตรีอื่นๆ ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทั้งสิ้น
7. ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หมายถึง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน

 พระมหากษัตริย์ เมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักรหรือทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้
 เช่น ประชวร ทรงผนวช ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ หรือเมื่อราชบัลลังก์ว่างลง ปกติแล้วเมื่อ
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ใดด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา ผู้นั้นก็เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
 แต่ถ้ามิได้ทรงแต่งตั้งไว้ ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งที่สมควรต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
และในบางกรณีเช่น เมื่อราชบัลลังก์ว่างลง หรือระหว่างที่ยังไม่มีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ 
ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปพลางก่อนได้
ในรัชกาลปัจจุบันมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หลายคราว เช่น เมื่อเสด็จไปทรงศึกษา

ในต่างประเทศช่วงต้นรัชกาลเมื่อทรงผนวช หรือเสด็จฯ ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในต่างประเทศ
8. ทรงแก้ไขกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ กฎมณเฑียรบาลหมายถึง กฎหมายที่

พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นใช้บังคับในกิจการส่วนพระองค์ เช่น พระราชพิธีต่าง ๆ กิจการที่เกี่ยวกับ
สมาชิกแห่งพระราชวงศ์ หรือกิจการที่เกี่ยวกับราชสำนักหรือภายในเขตพระราชฐาน โดยไม่เกี่ยวกับ
ราษฎรอื่น ๆ
การสืบราชสมบัติ หมายถึง การขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งนับต่อเนื่องจากพระมหากษัตริย์พระองค์

ก่อนมิให้ขาดตอนกัน อันเป็นธรรมเนียมนานาประเทศ
การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะ เมื่อมีพระราชดำริประการใดให้คณะองคมนตรีจัดทำร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติมขึ้น

ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อมีพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
 ให้ประธานองคมนตรีแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้รัฐสภาทราบ
9. ทรงทำหนังสือสัญญา ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก 

และสัญญาอื่นๆ กับนานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ นอกจากนี้หนังสือสัญญาได้มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้เป็นไปตามสัญญา ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
10. ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้พิพากษา ข้าราชการในพระองค์ และข้าราชการระดับสูง
11. พระราชทานอภัยโทษ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจที่จะอภัยโทษแก่ผู้ต้องโทษโดยมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ





พระราชสถานะและพระราชอำนาจที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 

พระราชอำนาจตามประเพณีของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยของไทย ซึ่งไม่มีบทบัญญัติ

แห่งรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์อาจทรงใช้พระราชอำนาจต่อไปนี้ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ
และประชาชน
1. พระราชอำนาจที่จะทรงได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ในฐานที่ทรงดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศ

 เป็นสิทธิของพระมหากษัตริย์
ที่จะทรงได้รับการถวายรายงานให้ทรงทราบถึงสถานการณ์หรือเรื่องราวของบ้านเมืองเสมอ การที่

พระองค์จำเป็นต้องทรงทราบถึงเรื่องราวสำคัญก็เพื่อที่จะทรงให้คำแนะนำ ตักเตือน เพื่อประกอบการพิจารณาของรัฐบาลหรือผู้ทราบรับผิดชอบเรื่องนั้น ๆ
2. พระราชอำนาจที่จะพระราชทานคำปรึกษาหารือ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน อาจนำปัญหาขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยได้
3. พระราชอำนาจที่จะพระราชทานคำแนะนำตักเตือน พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะให้คำแนะนำ

 ตักเตือนในบางเรื่อง บางกรณีแก่รัฐสภา รัฐบาลและศาล หรือองค์กรอื่น ๆ ที่ทรงเห็นว่าถ้ากระทำไป
แล้วจะเกิดผลเสียหายแก่บ้านเมือง
4. พระราชอำนาจที่จะพระราชทานการสนับสนุน พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะพระราชทาน

 หรือให้การสนับสนุนการกระทำ หรือกิจการใดๆ ของรัฐหรือเอกชนได้ เช่น โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ โครงการฝนหลวง โครงการอีสานเขียว โครงการสร้างเขื่อน การที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริและให้การสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ย่อมเป็นขวัญและกำลังใจสำหรับผู้ที่ดำเนินการนั้น ๆ

พระราชสถานะทางสังคมสังคมไทยยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันคู่บ้านคู่เมือง เป็นสัญลักษณ์ของชาติ ทรงได้รับ
การเชิดชูจากสังคมไทย ดังนี้
1. ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงทำให้เกิดความสำนึกในความเป็นอันหนึ่ง

อันเดียวกัน ทำให้ทุกสถาบันมีจุดรวมจากแหล่งเดียวกัน แม้จะมีความแตกต่างกันในด้านเชื้อชาติ 
เผ่าพันธุ์ ศาสนา ก็มีความสมานสามัคคีกลมเกลียวกันในหมู่ชนเหล่านั้น ทรงรักใคร่ห่วงใยประชาชน 
ทรงมีเมตตาต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นถิ่นทุรกัน
ดารหรือมีอันตรายเพียงใด เพื่อทรงทราบถึงทุกข์สุขของประชาชน ประชาชนก็มีความผูกกันกับ
พระมหากษัตริย์อย่างลึกซึ้ง แน่นแฟ้น มั่นคง จนยากที่จะทำให้สั่นคลอนหรือแตกแยกได้
2. ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความต่อเนื่องของชาติ พระมหากษัตรีย์ทรงเป็นประมุขของชาติไทยสืบต่อ

กันมาโดยไม่ขาดสายตั้งแต่อาณาจักรไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนไปกี่ยุคสมัย
ก็ตาม ทำให้ระบบการเมืองและชาติไทยมีความสมานฉันท์และต่อเนื่องตลอดเวลา
3. ทรงเป็นพลังในการสร้างขวัญและกำลังใจของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาของแหล่งเกียรติยศทั้งปวง ก่อให้เกิดความภาคภูมิ ปิติยินดี และเกิดกำลังใจในหมู่ประชาชนทั่วไปที่จะรักษาคุณ

งามความดีและพยายามกระทำความดี เพื่อให้พระมหากษัตริย์สบายพระทัย
4. ทรงมีส่วนสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงขึ้นครองราชย์ด้วย

ความเห็นชอบยอมรับของประชาชน และทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนในการรักษาผล
ประโยชน์ของประชาชนและบ้านเมืองเป็นสำคัญ ซึ่งอาจต่างจาก
ประมุขของประเทศอื่นที่ขึ้นดำรงตำแหน่งโดยการเลือกตั้ง จึงต้องยึดนโยบายของกลุ่มหรือพรรคการ
เมืองที่ตนสังกัดเป็นหลัก
5. ทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นกลไกสำคัญในการยับยั้งและแก้ไขวิกฤตการณ์

ที่ร้ายแรงภายในประเทศได้ ในบางครั้งประเทศไทยเกิดการขัดแย้งกันเองตามระบอบประชาธิปไตย
 พระมหากษัตริย์ ก็สามารถยุติได้ด้วยพระบารมีของพระองค์ เช่น เหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย
เมืองเดือนตุลาคม 2516 และเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 เป็นต้น
6. ทรงส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ พระมหากษัตริย์เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ทั้งประชาชน รัฐบาล หน่วยราชการ กองทัพ นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน หรือกลุ่มต่าง ๆ แม้กระทั่งชนกลุ่มน้อยในประเทศ เช่น ชาวไทยภูเขา ชาวไทยมุสลิม เป็นต้น ทำให้ทุกฝ่ายมีความมุ่งมั่นและมีความพรักพร้อมที่จะรักษาความมั่นคงและเอกราชของชาติไว้
7. ทรงมีส่วนเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตได้ทรงดำเนินวิเท

โศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นของชาติตะวันตก
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ได้เสด็จประพาสยุโรปถึง ครั้ง เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน 
ก็ทรงดำเนินการให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่าง ๆ กับประเทศไทย
 โดยเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยือนประเทศต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง
ไทยกับต่างประเทศดำเนินไปได้อย่างสะดวกและราบรื่น
8. ทรงเป็นผู้นำในการพัฒนาและปฏิรูปด้านต่าง การพัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญ ๆ ของชาติส่วนใหญ่ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ ในสมัยรัชกาลที่ พระองค์ทรงปูพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยจัดตั้งกระทรวงต่าง ๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส กระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบันได้ทรงเกื้อหนุน

วิทยาการสาขาต่าง ๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหา
หลัก ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ผ่านโครงการพระราชดำริ ซึ่งมุ่งเน้นการแก้ปัญหาให้แก่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แก่ ชาวนา
 ชาวไร่ และประชาชนผู้ด้อยโอกาส เช่น โครงการพัฒนาที่ดิน โครงการสหกรณ์ โครงการพัฒนา
ชาวเขา และการเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นต้น
9. ทรงมีส่วนเกื้อหนุนระบอบประชาธิปไตย สถาบันพระมหากษัตริย์มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมระบอบ

การปกครองแบบประชาธิปไตยให้มีความเข้มแข็งและมั่นคง เพราะการที่ประชาชนเกิดความจงรักภักดี
และเชื่อมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้ประชาชนเกิดความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วย เนื่องจากเห็นว่าเป็นระบอบการปกครองที่เชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะของประชนนั่นเอ

การปกครองระบอบประชาธิปไตย





ที่มา : https://sites.google.com/site/khunraphin2/sm45

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น