บทที่ 3 การเมืองการปกครอง
ที่การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน และการใช้อำนาจที่ได้มาเพื่อสร้างความผาสุกให้แก่ประชาชน ส่วนการปกครองเป็นการทำงานของ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะดำเนินการตามกฎหมายและนโยบายที่รัฐมอบให้ดำเนินการ โดยมุ่งที่จะสร้าง ความผาสุก ความเป็นระเบียบ ความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคมภายใต้รูปแบบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยและแบบเผด็จการ
สาระการเรียนรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับรัฐ - รัฐและการจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐ
- องค์ประกอบของรัฐ
- รูปแบบของรัฐ
- ประเภทของรัฐ
- วัตถุประสงค์ของรัฐ
- หน้าที่ของรัฐ
- การจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐ
- หลักการใช้อำนาจในการปกครอง
- แผนผังแสดงการจัดระเบียบราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบัน
2. ระบอบประชาธิปไตย
3. ระบอบเผด็จการ
สาระการเรียนรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับรัฐ - รัฐและการจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐ
- องค์ประกอบของรัฐ
- รูปแบบของรัฐ
- ประเภทของรัฐ
- วัตถุประสงค์ของรัฐ
- หน้าที่ของรัฐ
- การจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐ
- หลักการใช้อำนาจในการปกครอง
- แผนผังแสดงการจัดระเบียบราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบัน
2. ระบอบประชาธิปไตย
3. ระบอบเผด็จการ
ความรู้เกี่ยวกับรัฐ
ความรู้เกี่ยวกับรัฐ
มนุษย์อยู่ร่วมกันโดยเริ่มจากการอยู่ด้วยกันในลักษณะสังคมที่เล็กที่สุด ตั้งแต่ขนาดครอบครัวหลาย ๆ ครอบครัวรวมกันในรูปของเผ่า เมื่อสมาชิกของสังคมเพิ่มมากขึ้น สังคมก็ขยายตัวออกไปทั้งในด้านจำนวนและบริเวณที่ตั้งสังคม จากเผ่ากลายเป็นนครรัฐและไปเป็นชาติ เป็นรัฐหรือประเทศ เป็นอาณาจักร เป็นจักรวรรดิ การแบ่งกลุ่มคนหรือสังคมเป็นประเทศ คำที่ใช้ในการสื่อความหายคือคำว่า รัฐ ซึ่งบ่งบอกถึงสถานะนิติบุคคล ของประเทศ ในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเทศต่าง ๆ มีฐานะเป็นรัฐในสังคมนานาชาติโดยเท่าเทียมกัน ไม่ว่าขนาดของประเทศหรือรัฐจะแตกต่างกันหรือไม่ก็ตาม โดยปกติคำว่า รัฐและประเทศมีความหมายคล้ายกัน
มนุษย์อยู่ร่วมกันโดยเริ่มจากการอยู่ด้วยกันในลักษณะสังคมที่เล็กที่สุด ตั้งแต่ขนาดครอบครัวหลาย ๆ ครอบครัวรวมกันในรูปของเผ่า เมื่อสมาชิกของสังคมเพิ่มมากขึ้น สังคมก็ขยายตัวออกไปทั้งในด้านจำนวนและบริเวณที่ตั้งสังคม จากเผ่ากลายเป็นนครรัฐและไปเป็นชาติ เป็นรัฐหรือประเทศ เป็นอาณาจักร เป็นจักรวรรดิ การแบ่งกลุ่มคนหรือสังคมเป็นประเทศ คำที่ใช้ในการสื่อความหายคือคำว่า รัฐ ซึ่งบ่งบอกถึงสถานะนิติบุคคล ของประเทศ ในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเทศต่าง ๆ มีฐานะเป็นรัฐในสังคมนานาชาติโดยเท่าเทียมกัน ไม่ว่าขนาดของประเทศหรือรัฐจะแตกต่างกันหรือไม่ก็ตาม โดยปกติคำว่า รัฐและประเทศมีความหมายคล้ายกัน
รัฐและการจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐ
ในการกล่าวถึงคำว่า รัฐ ผู้กล่าวถึงอาจใช้คำว่า รัฐ ในความหมายแตกต่างกันไปตามที่ผู้ใช้ต้องการจะหมายถึง ได้แก่
1. รัฐ หมายถึง รัฐบาล หรือกลุ่มบุคคลที่ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจในการตัดสินใจในกิจการต่าง ๆ ของประเทศ
2. รัฐ หมายถึง ระบบราชการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ของประเทศตามที่กฎหมายกำหนด
3. รัฐ หมายถึง ชนชั้นที่มีอำนาจปกครองเหนือชนชั้นอื่นที่อยู่ภายในดินแดนนั้น
4. รัฐ หมายถึง องค์การอิสระที่มีอำนาจกำหนดบรรทัดฐานทางสังคมให้กลุ่มชนหรือประชาชนต่าง ๆ ยึดถือและปฏิบัติตาม
5. รัฐ หมายถึง ดินแดนหรือประเทศเอกราชที่มีอำนาจในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเอกราชอื่นในประชาคมระหว่างประเทศ
จากความหมายต่าง ๆ ของรัฐที่กล่าวมานี้ เราอาจให้ความหมายของรัฐโดยรวมได้ว่า รัฐ หมายถึง ประเทศที่มีรัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเหนือประชากร ภายในดินแดนของตนอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่ใคร
ในการกล่าวถึงคำว่า รัฐ ผู้กล่าวถึงอาจใช้คำว่า รัฐ ในความหมายแตกต่างกันไปตามที่ผู้ใช้ต้องการจะหมายถึง ได้แก่
1. รัฐ หมายถึง รัฐบาล หรือกลุ่มบุคคลที่ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจในการตัดสินใจในกิจการต่าง ๆ ของประเทศ
2. รัฐ หมายถึง ระบบราชการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ของประเทศตามที่กฎหมายกำหนด
3. รัฐ หมายถึง ชนชั้นที่มีอำนาจปกครองเหนือชนชั้นอื่นที่อยู่ภายในดินแดนนั้น
4. รัฐ หมายถึง องค์การอิสระที่มีอำนาจกำหนดบรรทัดฐานทางสังคมให้กลุ่มชนหรือประชาชนต่าง ๆ ยึดถือและปฏิบัติตาม
5. รัฐ หมายถึง ดินแดนหรือประเทศเอกราชที่มีอำนาจในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเอกราชอื่นในประชาคมระหว่างประเทศ
จากความหมายต่าง ๆ ของรัฐที่กล่าวมานี้ เราอาจให้ความหมายของรัฐโดยรวมได้ว่า รัฐ หมายถึง ประเทศที่มีรัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเหนือประชากร ภายในดินแดนของตนอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่ใคร
รัฐ หมายถึง กลุ่มคนที่รวมกันอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน และมีรัฐบาลซึ่งมีอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการดำเนินกิจการของรัฐในประเทศและนอกประเทศโดยอิสระ ดังนั้นรัฐจึงเป็นสังคมที่มีการจัดองค์กรทางการเมืองแตกต่างจากการรวมตัวกันเป็นสังคมแบบธรรมดา ๆ ความหมายของรัฐเน้นในเรื่องการเมือง คือ มีการจัดองค์กรในรูปแบบที่ว่า มีคนจำนวนหนึ่งเป็นผู้ปกครองมีอำนาจเหนือกลุ่มคนทั้งหมด อำนาจของผู้ปกครองนี้อาจได้มาด้วยการใช้กำลัง หรือความยินยอมมอบให้ หรือการยอมรับของคนที่อยู่ในสังคมนั้นทางใดทางหนึ่งก็ได้ คำว่า รัฐ นี้อาจให้ความหมายโดยสมบูรณ์ว่า รัฐประชาชาติ ก็ได้
เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า รัฐ แล้ว จะเห็นได้ว่า จุดประสงค์สำคัญในการมีรัฐ คือความปรารถนาของคนที่จะมีชีวิตที่มีความสมบูรณ์ อันได้แก่ การมีเสรีภาพ มีโอกาสอันเท่าเทียมกัน มีความเจริญก้าวหน้า มีโอกาสพัฒนาด้านสติปัญญา ความสามารถและบุคลิกภาพ มีศักดิ์และสิทธิ์ที่จะเป็นเจ้าของประเทศ
เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า รัฐ แล้ว จะเห็นได้ว่า จุดประสงค์สำคัญในการมีรัฐ คือความปรารถนาของคนที่จะมีชีวิตที่มีความสมบูรณ์ อันได้แก่ การมีเสรีภาพ มีโอกาสอันเท่าเทียมกัน มีความเจริญก้าวหน้า มีโอกาสพัฒนาด้านสติปัญญา ความสามารถและบุคลิกภาพ มีศักดิ์และสิทธิ์ที่จะเป็นเจ้าของประเทศ
องค์ประกอบของรัฐ
การจัดว่าสังคมเป็นรัฐ หรือรัฐประชาชาติ ตามที่เรียกกันในปัจจุบันนั้น ต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ จะขาดประการใดประการหนึ่งไม่ได้ แต่ละองค์ประกอบมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ประชากร รัฐจะต้องมีจำนวนประชากรจำนวนหนึ่ง ไม่มีการกำหนดไว้ว่ารัฐหนึ่งควรมีประชากรเท่าใด แต่หากรัฐใดมีประชากรน้อยเกินไปก็ยากที่จะคงไว้ซึ่งเอกราชของตนเอง โดยเหตุนี้จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจจะแตกต่างกันมาก เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน มีประชากรประมาณ 1,288 ล้านคน ในขณะที่ประเทศนาอูรู และตูวาลู ซึ่งอยู่ในแถบโอเชียเนีย มีประชากรเพียง 1 หมื่นคนเศษเท่านั้น ประชากรภายในรัฐไม่จำเป็นต้องมีเชื้อชาติเดียวกัน เช่น สหพันธรัฐรัสเซีย มีชนเชื้อชาติต่าง ๆ มากกว่าร้อยเชื้อชาติ ภาษาที่ใช้ในรัฐก็ไม่จำเป็นต้องมีภาษาเดียวกัน เช่น สาธารณรัฐอินเดียมีภาษาที่ใช้มากกว่าร้อยภาษา ประชากรที่อยู่ในรัฐเดียวกันก็อาจมีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อที่แตกต่างกันก็ได้
2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนที่ตั้งหรือมีอาณาเขตที่แน่นอน จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กก็ได้ เช่น สหพันธรัฐรัสเซียมีพื้นที่มากกว่า 17 ล้านตารางกิโลเมตร ในขณะที่สาธารณรัฐสิงคโปร์มีพื้นที่เพียง 600 ตารางกิโลเมตรเศษเท่านั้น หมู่คนที่เร่รอนไม่ปักหลักหากินเป็นถิ่นฐานแน่นอน เช่น พวกยิปซีในสมัยก่อนถือว่าไม่ได้อยู่ร่วมกันในลักษณะของรัฐ โดยปกติอาณาเขตของรัฐมักติดต่อกัน แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เช่น มลรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกามีพื้นที่ไม่ติดกับมลรัฐอื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา เพราะมีประเทศแคนาดาคั่นอยู่ เป็นต้น
3. รัฐบาล รัฐจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองบริหารซึ่งเรียกว่า รัฐบาล เป็นผู้ทำหน้าที่คุ้มครองรักษาความสงบภายใน ป้องกันการรุกรานจากภายนอก จัดการทางเศรษฐกิจ และการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชากรที่อาศัยอยู่ในรัฐ รวมทั้งการดำเนินกิจการของรัฐในทางการเมืองระหว่างประเทศด้วย
4. อธิปไตย สังคมที่จะเป็นรัฐประชาชาติโดยสมบูรณ์ได้ต้องมีอธิปไตย คือมีอำนาจเด็ดขาดและเต็มที่ที่จะบัญญัติ บังคับและตัดสินคดีความตามกฎหมายให้ประชาชนของรัฐของตน และสามารถที่จะดำเนินกิจการภายในหรือภายนอกประเทศโดยอิสระ ไม่ถูกควบคุมหรือบงการโดยรัฐอื่น ถ้าหากว่ารัฐใดขาดอธิปไตยแล้ว ถือว่ารัฐนั้น ไม่มีเอกราชโดยแท้จริง
ในบรรดาองค์ประกอบทั้ง 4 อย่างนี้ อำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของรัฐ ความเป็นรัฐจะสิ้นสุดลงทันทีเมื่อรัฐนั้นตกไปอยู่ใต้การปกครองของรัฐอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพราะแพ้สงครามหรือรวมตัวกับรัฐอื่นก็ตาม ด้วยเหตุนี้นักรัฐศาสตร์จึงไม่ถือว่ารัฐนิวยอร์กของสหรัฐอเมริกา หรือรัฐโอริสสาของอินเดีย หรือรัฐบาวาเรียของ เยอรมันนี มีสภาพเป็น รัฐ ทั้งนี้ก็เพราะรัฐดังกล่าวไม่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง และอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลางของประเทศนั้น ๆ จึงมีผู้เรียกรัฐที่เป็นองค์ประกอบของรัฐใหญ่หรือสหพันธรัฐว่า มลรัฐ
ขณะเดียวกัน รัฐ กับ ประเทศ ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกันเสมอไป ทั้งนี้เพราะคำว่า ประเทศ อาจหมายถึง ดินแดนที่ยังไม่เป็นเอกราชก็ได้ ตัวอย่างเช่น ประเทศเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเหล่านี้ยังไม่มีฐานะเป็นรัฐ เนื่องจากอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และยังไม่มีอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจปกครองเป็นของตนเอง
การจัดว่าสังคมเป็นรัฐ หรือรัฐประชาชาติ ตามที่เรียกกันในปัจจุบันนั้น ต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ จะขาดประการใดประการหนึ่งไม่ได้ แต่ละองค์ประกอบมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ประชากร รัฐจะต้องมีจำนวนประชากรจำนวนหนึ่ง ไม่มีการกำหนดไว้ว่ารัฐหนึ่งควรมีประชากรเท่าใด แต่หากรัฐใดมีประชากรน้อยเกินไปก็ยากที่จะคงไว้ซึ่งเอกราชของตนเอง โดยเหตุนี้จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจจะแตกต่างกันมาก เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน มีประชากรประมาณ 1,288 ล้านคน ในขณะที่ประเทศนาอูรู และตูวาลู ซึ่งอยู่ในแถบโอเชียเนีย มีประชากรเพียง 1 หมื่นคนเศษเท่านั้น ประชากรภายในรัฐไม่จำเป็นต้องมีเชื้อชาติเดียวกัน เช่น สหพันธรัฐรัสเซีย มีชนเชื้อชาติต่าง ๆ มากกว่าร้อยเชื้อชาติ ภาษาที่ใช้ในรัฐก็ไม่จำเป็นต้องมีภาษาเดียวกัน เช่น สาธารณรัฐอินเดียมีภาษาที่ใช้มากกว่าร้อยภาษา ประชากรที่อยู่ในรัฐเดียวกันก็อาจมีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อที่แตกต่างกันก็ได้
2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนที่ตั้งหรือมีอาณาเขตที่แน่นอน จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กก็ได้ เช่น สหพันธรัฐรัสเซียมีพื้นที่มากกว่า 17 ล้านตารางกิโลเมตร ในขณะที่สาธารณรัฐสิงคโปร์มีพื้นที่เพียง 600 ตารางกิโลเมตรเศษเท่านั้น หมู่คนที่เร่รอนไม่ปักหลักหากินเป็นถิ่นฐานแน่นอน เช่น พวกยิปซีในสมัยก่อนถือว่าไม่ได้อยู่ร่วมกันในลักษณะของรัฐ โดยปกติอาณาเขตของรัฐมักติดต่อกัน แต่ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เช่น มลรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกามีพื้นที่ไม่ติดกับมลรัฐอื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา เพราะมีประเทศแคนาดาคั่นอยู่ เป็นต้น
3. รัฐบาล รัฐจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองบริหารซึ่งเรียกว่า รัฐบาล เป็นผู้ทำหน้าที่คุ้มครองรักษาความสงบภายใน ป้องกันการรุกรานจากภายนอก จัดการทางเศรษฐกิจ และการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชากรที่อาศัยอยู่ในรัฐ รวมทั้งการดำเนินกิจการของรัฐในทางการเมืองระหว่างประเทศด้วย
4. อธิปไตย สังคมที่จะเป็นรัฐประชาชาติโดยสมบูรณ์ได้ต้องมีอธิปไตย คือมีอำนาจเด็ดขาดและเต็มที่ที่จะบัญญัติ บังคับและตัดสินคดีความตามกฎหมายให้ประชาชนของรัฐของตน และสามารถที่จะดำเนินกิจการภายในหรือภายนอกประเทศโดยอิสระ ไม่ถูกควบคุมหรือบงการโดยรัฐอื่น ถ้าหากว่ารัฐใดขาดอธิปไตยแล้ว ถือว่ารัฐนั้น ไม่มีเอกราชโดยแท้จริง
ในบรรดาองค์ประกอบทั้ง 4 อย่างนี้ อำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของรัฐ ความเป็นรัฐจะสิ้นสุดลงทันทีเมื่อรัฐนั้นตกไปอยู่ใต้การปกครองของรัฐอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพราะแพ้สงครามหรือรวมตัวกับรัฐอื่นก็ตาม ด้วยเหตุนี้นักรัฐศาสตร์จึงไม่ถือว่ารัฐนิวยอร์กของสหรัฐอเมริกา หรือรัฐโอริสสาของอินเดีย หรือรัฐบาวาเรียของ เยอรมันนี มีสภาพเป็น รัฐ ทั้งนี้ก็เพราะรัฐดังกล่าวไม่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง และอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลางของประเทศนั้น ๆ จึงมีผู้เรียกรัฐที่เป็นองค์ประกอบของรัฐใหญ่หรือสหพันธรัฐว่า มลรัฐ
ขณะเดียวกัน รัฐ กับ ประเทศ ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกันเสมอไป ทั้งนี้เพราะคำว่า ประเทศ อาจหมายถึง ดินแดนที่ยังไม่เป็นเอกราชก็ได้ ตัวอย่างเช่น ประเทศเวียดนาม ลาว และกัมพูชา ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเหล่านี้ยังไม่มีฐานะเป็นรัฐ เนื่องจากอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และยังไม่มีอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจปกครองเป็นของตนเอง
รูปแบบของรัฐ
1. รัฐเดี่ยว เป็นรัฐที่มีรัฐบาลเพียงรัฐบาลเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยปกครองอาณาเขต หรือดินแดนทั้งหมด ประชาชนที่อยู่ในรัฐถือว่าอยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน รัฐอาจจะจัดระบบการปกครองให้มีหน่วยปกครองระดับรองกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของรัฐ เพื่อให้บริการหรือให้ความสะดวกแก่คนในรัฐ รัฐเดี่ยวนี้แม้จะมีการจัดตั้งหน่วยงานปกครองท้องถิ่น เพื่อให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครอง หรือดำเนินการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในท้องถิ่น แต่ก็เป็นรูปแบบของการปกครองตนเอง หน่วยการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่ตราขึ้นมาจากส่วนกลาง คือ การปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีรัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุม การปกครองตนเองจะมีอำนาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับรัฐบาลแห่งชาติว่ามีความต้องการกระจายอำนาจเพียงใด กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยมีศูนย์รวมอยู่ที่รัฐบาลในส่วนกลาง จึงทำให้การดำเนินงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นการวางนโยบายหรือการบริหารต้องขึ้นอยู่กับการกำหนดและควบคุมดูแลของรัฐบาลกลางเป็นหลัก การปกครองแบบนี้มักเกิดขึ้นในประเทศที่มีอาณาเขตไม่กว้างขวางมาก ท้องถิ่นมีลักษณะไม่ต่างกันมาก และประชาชนในรัฐมีความเกี่ยวข้องผูกพันกันในทางประวัติศาสตร์ เช่น ไทย ฝรั่งเศส ซาอุดีอาระเบีย สิงคโปร์ เป็นต้น
2. รัฐรวม รัฐประเภทนี้ได้แก่ การที่รัฐอย่างน้อย 2 รัฐมารวมกันเป็นรัฐเดียว โดยแบ่งการใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็นสัดส่วน มีรัฐบาล 2 ระดับ ได้แก่ รัฐบาลกลาง กับรัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลทั้ง 2 ระดับต่างมีอำนาจหน้าที่ของตนโดยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยทั่ว ๆ ไป รัฐบาลกลางของรัฐรวมจะใช้อำนาจอธิปไตยในส่วนที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของรัฐทั้งหมด หรือผลประโยชน์อันเป็นส่วนรวมของรัฐ เช่น การติดต่อกับต่างประเทศ การรักษาความมั่นคงของชาติ การเงินและการคลัง เป็นต้น ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจในการดำเนินกิจการอันเกี่ยวข้องกับท้องถิ่นโดยเฉพาะ เช่น การจัดการศึกษา การรักษาความสงบภายใน การรักษาสุขภาพของประชาชนเป็นต้น รัฐรวมประกอบด้วยหลาย ๆ รัฐเข้ามารวมกันเป็นรัฐประชาชาติใหญ่ เรียกว่า สหพันธรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยมลรัฐต่าง ๆ ถึง 50 มลรัฐ สาธารณรัฐเยอรมนี มีรัฐต่าง ๆ รวมกันถึง 16 รัฐ เป็นต้น รัฐธรรมนูญของรัฐรวมหรือสหพันธรัฐแบ่งแยกอำนาจของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นออกจากกันอย่างเด่นชัดว่า รัฐบาลใดมีขอบเขตของอำนาจหน้าที่อย่างไร ทั้งนี้เพื่อป้องกันความขัดแย้งอันอาจจะเกิดขึ้นได้ ปกติรัฐที่มีการปกครองแบบรัฐรวม มักจะเป็นรัฐหรือประเทศใหญ่ มีอาณาเขตกว้างขวาง มีภูมิประเทศและสภาพท้องถิ่นไม่เหมือนกัน เช่น สหพันธรัฐรัสเซีย ออสเตรเลีย บราซิล สหรัฐอเมริกา แคนาดา อินเดีย เป็นต้น
ประเภทของรัฐ
รัฐเอกราชที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติปัจจุบันมีทั้งสิ้น 191 รัฐ รัฐทั้งหมดนี้มีความแตกต่างกันทั้งเนื้อที่ จำนวนประชากร ลักษณะการปกครอง และลักษณะเศรษฐกิจ อาจจำแนกประเภทของรัฐได้ตามลักษณะการปกครอง ลักษณะเศรษฐกิจ และลักษณะของฐานอำนาจได้ ดังนี้
1. การจำแนกประเภทของรัฐตามลักษณะการปกครอง ลักษณะการปกครอง หมายถึง รูปแบบการเมืองการปกครองของรัฐ โดยพิจารณาจากการที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมทางด้านการเมืองการปกครอง ซึ่งจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ
1.1 รัฐประชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่ให้โอกาสประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง เช่นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อินเดีย ไทย เป็นต้น
1.2 รัฐเผด็จการ เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองน้อยมากหรือไม่มีเลย อำนาจในการปกครองมาจากคนหรือคณะบุคคล เช่น พม่า เกาหลีเหนือ เป็นต้น
2. การจำแนกประเภทของรัฐตามลักษณะเศรษฐกิจ ลักษณะเศรษฐกิจ หมายถึง รูปแบบการจัดระบบเศรษฐกิจของรัฐ ซึ่งจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ
2.1 รัฐทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้โอกาสประชาชนในการดำเนินการผลิต การจำหน่าย และให้กลไกตลาดเป็นผู้กำหนดราคาสินค้า รัฐไม่เข้าไปแทรกแซงหรือแข่งขัน ยกเว้น กิจการบางอย่างที่เป็นสาธารณะเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ รัฐอาจเข้าไปดำเนินการเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์มากขึ้น เช่น การคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร การบริการน้ำสะอาด ไฟฟ้า และสาธารณูปโภคอื่น ๆ เป็นต้น ประเทศที่มีลักษณะเศรษฐกิจแบบนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เป็นต้น
2.2 รัฐสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นผู้ประกอบการทั้งหมด คือ การดำเนินการผลิต การจำหน่าย การกำหนดราคา ประชาชนมีส่วนร่วมในฐานะเป็นลูกจ้างของรัฐและเป็นผู้บริโภคเท่านั้น ประเทศที่มีลักษณะเศรษฐกิจแบบนี้ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ คิวบา ลิเบีย เป็นต้น
3. การจำแนกประเภทของรัฐตามลักษณะของฐานอำนาจ ลักษณะของฐานอำนาจ หมายถึง ปัจจัยที่ส่งเสริมความมีอำนาจของรัฐที่สำคัญ เช่น ขนาดของเนื้อที่ จำนวนประชากร ทรัพยากร กำลังทหาร และศักยภาพของอาวุธยุทโธปกรณ์ หากรัฐมีปัจจัยดังกล่าวอยู่มากก็ส่งเสริมให้มีอำนาจมาก อาจแบ่งอำนาจของรัฐได้ 3 ลักษณะดังนี้
3.1 รัฐมีอำนาจน้อย เป็นรัฐที่มีเนื้อที่ขนาดเล็ก ประชากรน้อย มีทรัพยากรจำกัด เช่น สิงคโปร์ กัมพูชา เป็นต้น
3.2 รัฐมีอำนาจปานกลาง เป็นรัฐขนาดกลาง ทั้งด้านเนื้อที่และประชากร โดยมีทรัพยากรสนองความต้องการของประชากรได้อย่างเพียงพอ เช่น ไทย สเปน เดนมาร์ก ฟิลิปปินส์ เป็นต้น
3.3 รัฐมีอำนาจมาก เป็นรัฐตามเกณฑ์ที่มีเนื้อที่มาก มีประชากรมาก มีทรัพยากรหลากหลาย มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง มีความเข้มแข็งทางยุทธศาสตร์การทหาร เช่น สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส เป็นต้น
การจำแนกประเภทของรัฐตามลักษณะดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจและฐานอำนาจ การศึกษาเรื่องของรัฐจึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐตามลักษณะการจัดระเบียบการปกครองของรัฐมากกว่าประเภทของรัฐ
รัฐเอกราชที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติปัจจุบันมีทั้งสิ้น 191 รัฐ รัฐทั้งหมดนี้มีความแตกต่างกันทั้งเนื้อที่ จำนวนประชากร ลักษณะการปกครอง และลักษณะเศรษฐกิจ อาจจำแนกประเภทของรัฐได้ตามลักษณะการปกครอง ลักษณะเศรษฐกิจ และลักษณะของฐานอำนาจได้ ดังนี้
1. การจำแนกประเภทของรัฐตามลักษณะการปกครอง ลักษณะการปกครอง หมายถึง รูปแบบการเมืองการปกครองของรัฐ โดยพิจารณาจากการที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมทางด้านการเมืองการปกครอง ซึ่งจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ
1.1 รัฐประชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่ให้โอกาสประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง เช่นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อินเดีย ไทย เป็นต้น
1.2 รัฐเผด็จการ เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองน้อยมากหรือไม่มีเลย อำนาจในการปกครองมาจากคนหรือคณะบุคคล เช่น พม่า เกาหลีเหนือ เป็นต้น
2. การจำแนกประเภทของรัฐตามลักษณะเศรษฐกิจ ลักษณะเศรษฐกิจ หมายถึง รูปแบบการจัดระบบเศรษฐกิจของรัฐ ซึ่งจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ
2.1 รัฐทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้โอกาสประชาชนในการดำเนินการผลิต การจำหน่าย และให้กลไกตลาดเป็นผู้กำหนดราคาสินค้า รัฐไม่เข้าไปแทรกแซงหรือแข่งขัน ยกเว้น กิจการบางอย่างที่เป็นสาธารณะเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ รัฐอาจเข้าไปดำเนินการเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์มากขึ้น เช่น การคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร การบริการน้ำสะอาด ไฟฟ้า และสาธารณูปโภคอื่น ๆ เป็นต้น ประเทศที่มีลักษณะเศรษฐกิจแบบนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เป็นต้น
2.2 รัฐสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเป็นผู้ประกอบการทั้งหมด คือ การดำเนินการผลิต การจำหน่าย การกำหนดราคา ประชาชนมีส่วนร่วมในฐานะเป็นลูกจ้างของรัฐและเป็นผู้บริโภคเท่านั้น ประเทศที่มีลักษณะเศรษฐกิจแบบนี้ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ คิวบา ลิเบีย เป็นต้น
3. การจำแนกประเภทของรัฐตามลักษณะของฐานอำนาจ ลักษณะของฐานอำนาจ หมายถึง ปัจจัยที่ส่งเสริมความมีอำนาจของรัฐที่สำคัญ เช่น ขนาดของเนื้อที่ จำนวนประชากร ทรัพยากร กำลังทหาร และศักยภาพของอาวุธยุทโธปกรณ์ หากรัฐมีปัจจัยดังกล่าวอยู่มากก็ส่งเสริมให้มีอำนาจมาก อาจแบ่งอำนาจของรัฐได้ 3 ลักษณะดังนี้
3.1 รัฐมีอำนาจน้อย เป็นรัฐที่มีเนื้อที่ขนาดเล็ก ประชากรน้อย มีทรัพยากรจำกัด เช่น สิงคโปร์ กัมพูชา เป็นต้น
3.2 รัฐมีอำนาจปานกลาง เป็นรัฐขนาดกลาง ทั้งด้านเนื้อที่และประชากร โดยมีทรัพยากรสนองความต้องการของประชากรได้อย่างเพียงพอ เช่น ไทย สเปน เดนมาร์ก ฟิลิปปินส์ เป็นต้น
3.3 รัฐมีอำนาจมาก เป็นรัฐตามเกณฑ์ที่มีเนื้อที่มาก มีประชากรมาก มีทรัพยากรหลากหลาย มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง มีความเข้มแข็งทางยุทธศาสตร์การทหาร เช่น สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส เป็นต้น
การจำแนกประเภทของรัฐตามลักษณะดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจและฐานอำนาจ การศึกษาเรื่องของรัฐจึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐตามลักษณะการจัดระเบียบการปกครองของรัฐมากกว่าประเภทของรัฐ
วัตถุประสงค์ของรัฐ
รัฐจะต้องดำเนินการให้ประชาชนของรัฐมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการสร้างความเป็นระเบียบ การสร้างคุณธรรม การจัดให้มีสวัสดิการสาธารณะ และการสร้างความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคง
1. สร้างความเป็นระเบียบ ความเป็นระเบียบเป็นรากฐานของความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยทั่วไป และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดผลดีแก่ประชาชน เมื่อสังคมมีความเป็นระเบียบทำให้สมาชิกมีโอกาสใช้อำนาจที่ถูกต้อง ชอบธรรมหรือใช้สิทธิของตนได้ ความเป็นระเบียบทำให้เกิดเสรีภาพ คือ ความอิสระที่ประชาชนจะทำสิ่งใด ๆ ได้ โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เพราะเสรีภาพจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐนั้นมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีหลักมีเกณฑ์ และทุกคนมีความรับผิดชอบที่จะควบคุมการกระทำของตน มิให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น นอกจากนี้ความเป็นระเบียบยังทำให้เกิดความเสมอภาค คือความเท่าเทียมกันของประชาชน เพราะความมีระเบียบยังทำให้เกิดความเสมอภาคกันในระหว่างคนในชาติ
2. สร้างคุณธรรม คุณธรรม คือ สิ่งที่ทำให้คนแตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่น เพราะคุณธรรมทำให้คนมีความรักความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน รัฐจึงต้องเสริมสร้างและส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม ศีลธรรม หรือจริยธรรมในหลักศาสนา ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างเสริมเพิ่มพูนคุณงามความดีให้กับบุคคลเพื่อให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อย มีความเป็นระเบียบ ปลอดภัย และทำให้เกิดสันติสุข
3. บริการสาธารณะ กิจการอันเป็นสวัสดิการสาธารณะด้านต่าง ๆ ซึ่งประชานได้รับประโยชน์ในการใช้บริการร่วมกัน เช่น เส้นทางคมนาคมขนส่ง ไฟฟ้า น้ำสะอาด เป็นต้น รัฐจะต้องรับผิดชอบดำเนินการ
4. สร้างความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคง รัฐเหมือนสิ่งมีชีวิตที่มีคุณค่า ต้องการการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า มีความมั่นคงและปลอดภัย ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
รัฐจะต้องดำเนินการให้ประชาชนของรัฐมีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการสร้างความเป็นระเบียบ การสร้างคุณธรรม การจัดให้มีสวัสดิการสาธารณะ และการสร้างความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคง
1. สร้างความเป็นระเบียบ ความเป็นระเบียบเป็นรากฐานของความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยทั่วไป และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดผลดีแก่ประชาชน เมื่อสังคมมีความเป็นระเบียบทำให้สมาชิกมีโอกาสใช้อำนาจที่ถูกต้อง ชอบธรรมหรือใช้สิทธิของตนได้ ความเป็นระเบียบทำให้เกิดเสรีภาพ คือ ความอิสระที่ประชาชนจะทำสิ่งใด ๆ ได้ โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เพราะเสรีภาพจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐนั้นมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีหลักมีเกณฑ์ และทุกคนมีความรับผิดชอบที่จะควบคุมการกระทำของตน มิให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น นอกจากนี้ความเป็นระเบียบยังทำให้เกิดความเสมอภาค คือความเท่าเทียมกันของประชาชน เพราะความมีระเบียบยังทำให้เกิดความเสมอภาคกันในระหว่างคนในชาติ
2. สร้างคุณธรรม คุณธรรม คือ สิ่งที่ทำให้คนแตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่น เพราะคุณธรรมทำให้คนมีความรักความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน รัฐจึงต้องเสริมสร้างและส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม ศีลธรรม หรือจริยธรรมในหลักศาสนา ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างเสริมเพิ่มพูนคุณงามความดีให้กับบุคคลเพื่อให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อย มีความเป็นระเบียบ ปลอดภัย และทำให้เกิดสันติสุข
3. บริการสาธารณะ กิจการอันเป็นสวัสดิการสาธารณะด้านต่าง ๆ ซึ่งประชานได้รับประโยชน์ในการใช้บริการร่วมกัน เช่น เส้นทางคมนาคมขนส่ง ไฟฟ้า น้ำสะอาด เป็นต้น รัฐจะต้องรับผิดชอบดำเนินการ
4. สร้างความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคง รัฐเหมือนสิ่งมีชีวิตที่มีคุณค่า ต้องการการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า มีความมั่นคงและปลอดภัย ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
หน้าที่ของรัฐ
ประชาชนจะอยู่รอดปลอดภัยและมีชีวิตที่สุขสมบูรณ์ได้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้นั้น รัฐจะต้องทำหน้าที่ด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การบริหาร คือ การปกครอง ดูแล และการป้องกันประเทศ รัฐต้องจัดให้มีสิ่งต่อไปนี้
(1) จัดหน่วยปกครอง เพื่อการบริหารการปกครอง รัฐจะต้องดำเนินการตามกฎหมายในการให้ความคุ้มครองและป้องกันการละเมิดสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ทั้งในส่วนเอกชนและมหาชน
(2) รักษาความสงบภายใน รัฐต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้นในรัฐ โดยการป้องกัน ระงับ และปราบปรามอาชญากรรม
(3) หารายได้ รัฐต้องดำเนินการเพื่อหารายได้มาใช้จ่ายในการพัฒนาและรักษาความมั่นคงของประเทศด้วยการเก็บภาษีอากรที่เป็นธรรม มีความเสมอภาคและไม่รั่วไหล
(4) รักษาเอกราช รัฐต้องดำเนินการโดยจัดให้มีกำลังป้องกันตนเอง เพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตย ทั้งต้องเป็นมิตรและมีสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
2. การบริการและสวัสดิการ รัฐต้องอำนวยและบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้แก่ประชาชนในด้านสุขภาพ อนามัย การสงเคราะห์ผู้ประสบภัย การศึกษา การฝึกฝนและประกอบอาชีพ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีศักดิ์และสิทธิ์แห่งการเป็นพลเมืองของประเทศ
3. ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ รัฐต้องสนับสนุน ส่งเสริมให้เอกชนมีความสามารถและมีความเข้มแข็งในการประกอบอาชีพ ป้องกันการเอารัดเอาเปรียบทางด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่เข้มแข็งหรือร่ำรวยกว่า และป้องกันการค้าขายผูกขาด
การจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐ
ทุกรัฐจะต้องมีการจัดระเบียบการปกครองภายใน ทั้งนี้เพื่อให้การปกครองดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและทำให้ประชาชนอยู่กันด้วยความผาสุก ด้วยเหตุนี้ทุกรัฐจึงสร้างระเบียบแบบแผนทางการปกครอง หรือ รัฐธรรมนูญ ขึ้น เพื่อระบุอำนาจหน้าที่ของสถาบันการปกครองต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน ว่าสถาบันนั้น ๆ มีอำนาจหน้าที่อย่างไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร รวมทั้งระบุสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของประชาชนไว้
1. สถาบันการปกครองสถาบันการปกครองที่สำคัญ ๆ โดยทั่วไป ได้แก่
1) ประมุข ประมุขของประเทศต่าง ๆ มีรูปแบบสำคัญ 2 รูปแบบ คือ แบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยทั้ง 2 แบบนี้จะใช้อำนาจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด กล่าวคือ ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขจะทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านสถาบันการปกครองอื่น ๆ ได้แก่ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ส่วนหัวหน้าของรัฐบาล คือ นายกรัฐมนตรี เช่น กรณีของประเทศอังกฤษ ไทย มาเลเซีย สเปน ส่วนประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีอาจเป็นผู้ใช้อำนาจผ่านสถาบันการปกครองเช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล เช่น กรณีของประเทศอินเดีย สิงคโปร์ เยอรมนี อิตาลี หรืออาจเป็นหัวหน้าผู้บริหารหรือรัฐบาลเองก็ได้ เช่น กรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เป็นต้น
2) รัฐสภา มีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย และควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล
3) คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน และบังคับใช้กฎหมายต่างๆ
4) ศาล มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
สำหรับประเทศไทยนั้น มีรัฐธรรมนูญบัญญัติอำนาจหน้าที่ของสถาบันการปกครองต่างๆ และระบุสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของประชาชนไว้อย่างชัดเจน เหมือนของนานอารยประเทศ ดังเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติถึงรูปแบบของรัฐไทย และอำนาจหน้าที่ของสถาบันการปกครองต่าง ๆ ไว้ในมาตรา 1 , 2และ 3 ดังนี้
ทุกรัฐจะต้องมีการจัดระเบียบการปกครองภายใน ทั้งนี้เพื่อให้การปกครองดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและทำให้ประชาชนอยู่กันด้วยความผาสุก ด้วยเหตุนี้ทุกรัฐจึงสร้างระเบียบแบบแผนทางการปกครอง หรือ รัฐธรรมนูญ ขึ้น เพื่อระบุอำนาจหน้าที่ของสถาบันการปกครองต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน ว่าสถาบันนั้น ๆ มีอำนาจหน้าที่อย่างไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร รวมทั้งระบุสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของประชาชนไว้
1. สถาบันการปกครองสถาบันการปกครองที่สำคัญ ๆ โดยทั่วไป ได้แก่
1) ประมุข ประมุขของประเทศต่าง ๆ มีรูปแบบสำคัญ 2 รูปแบบ คือ แบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยทั้ง 2 แบบนี้จะใช้อำนาจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด กล่าวคือ ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขจะทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านสถาบันการปกครองอื่น ๆ ได้แก่ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ส่วนหัวหน้าของรัฐบาล คือ นายกรัฐมนตรี เช่น กรณีของประเทศอังกฤษ ไทย มาเลเซีย สเปน ส่วนประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีอาจเป็นผู้ใช้อำนาจผ่านสถาบันการปกครองเช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล เช่น กรณีของประเทศอินเดีย สิงคโปร์ เยอรมนี อิตาลี หรืออาจเป็นหัวหน้าผู้บริหารหรือรัฐบาลเองก็ได้ เช่น กรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เป็นต้น
2) รัฐสภา มีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย และควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล
3) คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน และบังคับใช้กฎหมายต่างๆ
4) ศาล มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
สำหรับประเทศไทยนั้น มีรัฐธรรมนูญบัญญัติอำนาจหน้าที่ของสถาบันการปกครองต่างๆ และระบุสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ของประชาชนไว้อย่างชัดเจน เหมือนของนานอารยประเทศ ดังเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติถึงรูปแบบของรัฐไทย และอำนาจหน้าที่ของสถาบันการปกครองต่าง ๆ ไว้ในมาตรา 1 , 2และ 3 ดังนี้
มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของประชาชนชาวไทยนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2550 ได้บัญญัติไว้ในหมวด 3 และหมวด 4
มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของประชาชนชาวไทยนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2550 ได้บัญญัติไว้ในหมวด 3 และหมวด 4
หลักการใช้อำนาจในการปกครอง
เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ทุกรัฐจะต้องดำเนินการก็คือ การจัดระเบียบการปกครองภายในที่จะทำให้รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถอำนวยประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งนักรัฐศาสตร์ได้เสนอหลักการใช้อำนาจในการปกครองไว้ 3 แบบ คือ
1. หลักการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization of Powers) หมายถึง การให้กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวง อันเป็นศูนย์กลางในการบริหารประเทศ มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการอันเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ของตนออกไปปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ และมีอำนาจหน้าที่ที่จะโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่เหล่านั้นได้ตลอดเวลาตามความเหมาะสม หลักการรวมอำนาจมีข้อดีและข้อเสียดังนี้
ข้อดี มีดังนี้
1. ช่วยให้เกิดเอกภาพในการบริหารงานราชการแผ่นดิน ทั้งนี้เพราะรัฐบาลในส่วนกลางสามารถวางระเบียบแบบแผนในการบริหารได้เหมือนกันหมดทั่วประเทศ รวมทั้งสามารถควบคุมให้มีการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนได้อย่างเต็มที่ และได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ไปประจำอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ
2. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหารกิจการต่าง ๆ ได้มาก ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลในส่วนกลางสามารถโยกย้ายสับเปลี่ยนเครื่องมือเครื่องใช้ และเจ้าหน้าที่จากท้องที่หนึ่งไปยังอีกท้องที่หนึ่งได้เสมอ โดยไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องมือเครื่องใช้หรือจ้างเจ้าหน้าที่ใหม่
3. ช่วยให้มีการจัดเก็บภาษีและระดมทรัพยากรของประเทศมาใช้เพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศได้สะดวก ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลในส่วนกลางสามารถควบคุมการใช้ทรัพยากรในทุกส่วนของประเทศ และเก็บภาษีทุกชนิดมาใช้เพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศ มิใช่เพื่อประโยชน์ประชาชนในท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ
4. ช่วยให้มีการวางแผนพัฒนาและแผนกระจายความเจริญไปยังส่วนต่าง ๆ ของประเทศได้ง่าย ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลในส่วนกลางเป็นเจ้าของภาษีทั้งหมด จึงสามารถที่จะวางแผนการใช้เงินเพื่อการดังกล่าวได้โดยสะดวกตามที่รัฐบาลในส่วนกลางเห็นชอบ
5. ช่วยให้รัฐบาลในส่วนกลางสามารถวางแผนรักษาความมั่นคง และป้องกันการรุกรานหรือบ่อนทำลายจากภายนอกได้สะดวก ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลในส่วนกลางมีอำนาจควบคุมกิจการทหารและตำรวจได้เด็ดขาด สามารถวางแผนใช้กำลังทหารและตำรวจเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในและป้องกันประเทศได้โดยสะดวก
ข้อเสีย มีดังนี้
1. ทำให้เกิดความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ก็เพราะเจ้าหน้าที่กระทรวง ทบวง กรม ส่งไปประจำยังส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ไม่สามารถตัดสินใจปฏิบัติหน้าที่สำคัญบางอย่างด้วยตนเองได้ ต้องขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาชั้นสูงในกระทรวง ทบวง กรมเสมอ
2. ทำให้ไม่อาจควบคุมดูแลความประพฤติของเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางที่ประจำยังส่วนต่างๆ ของประเทศได้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับรัฐที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ยังผลให้เจ้าหน้าที่บางส่วนสามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ตลอดจนทุจริตต่อหน้าที่ได้สะดวก
3. ทำให้ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ก็เพราะเจ้าที่ที่กระทรวง ทบวง กรม ของส่วนกลางส่งไปประจำในท้องที่ต่าง ๆ อาจไม่เข้าใจความต้องการและภูมิประเทศของท้องถิ่นต่าง ๆ ได้ครบถ้วน
4. ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ไม่มีโอการได้ปกครองตนเอง หรือช่วยบริหารกิจการเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นของตน อันจะเป็นการช่วยเสริมสร้างประชาธิปไตยในท้องถิ่น ทั้งนี้ก็เพราะเจ้าหน้าที่ของส่วนกลางจะทำหน้าที่ทุกอย่างให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
5. ทำให้เจ้าหน้าที่ของส่วนกลางมีภาระหน้าที่มากเกินไป จนไม่สามารถทำหน้าที่เหล่านั้นให้ลุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจยังผลให้ประชาชนในส่วนต่าง ๆ ของประเทศไม่พอใจและเกลียดชังรัฐบาล
เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ทุกรัฐจะต้องดำเนินการก็คือ การจัดระเบียบการปกครองภายในที่จะทำให้รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรีสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถอำนวยประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งนักรัฐศาสตร์ได้เสนอหลักการใช้อำนาจในการปกครองไว้ 3 แบบ คือ
1. หลักการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization of Powers) หมายถึง การให้กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวง อันเป็นศูนย์กลางในการบริหารประเทศ มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการอันเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ของตนออกไปปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ และมีอำนาจหน้าที่ที่จะโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่เหล่านั้นได้ตลอดเวลาตามความเหมาะสม หลักการรวมอำนาจมีข้อดีและข้อเสียดังนี้
ข้อดี มีดังนี้
1. ช่วยให้เกิดเอกภาพในการบริหารงานราชการแผ่นดิน ทั้งนี้เพราะรัฐบาลในส่วนกลางสามารถวางระเบียบแบบแผนในการบริหารได้เหมือนกันหมดทั่วประเทศ รวมทั้งสามารถควบคุมให้มีการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนได้อย่างเต็มที่ และได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ไปประจำอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ
2. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหารกิจการต่าง ๆ ได้มาก ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลในส่วนกลางสามารถโยกย้ายสับเปลี่ยนเครื่องมือเครื่องใช้ และเจ้าหน้าที่จากท้องที่หนึ่งไปยังอีกท้องที่หนึ่งได้เสมอ โดยไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องมือเครื่องใช้หรือจ้างเจ้าหน้าที่ใหม่
3. ช่วยให้มีการจัดเก็บภาษีและระดมทรัพยากรของประเทศมาใช้เพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศได้สะดวก ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลในส่วนกลางสามารถควบคุมการใช้ทรัพยากรในทุกส่วนของประเทศ และเก็บภาษีทุกชนิดมาใช้เพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศ มิใช่เพื่อประโยชน์ประชาชนในท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ
4. ช่วยให้มีการวางแผนพัฒนาและแผนกระจายความเจริญไปยังส่วนต่าง ๆ ของประเทศได้ง่าย ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลในส่วนกลางเป็นเจ้าของภาษีทั้งหมด จึงสามารถที่จะวางแผนการใช้เงินเพื่อการดังกล่าวได้โดยสะดวกตามที่รัฐบาลในส่วนกลางเห็นชอบ
5. ช่วยให้รัฐบาลในส่วนกลางสามารถวางแผนรักษาความมั่นคง และป้องกันการรุกรานหรือบ่อนทำลายจากภายนอกได้สะดวก ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลในส่วนกลางมีอำนาจควบคุมกิจการทหารและตำรวจได้เด็ดขาด สามารถวางแผนใช้กำลังทหารและตำรวจเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในและป้องกันประเทศได้โดยสะดวก
ข้อเสีย มีดังนี้
1. ทำให้เกิดความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ก็เพราะเจ้าหน้าที่กระทรวง ทบวง กรม ส่งไปประจำยังส่วนต่าง ๆ ของประเทศ ไม่สามารถตัดสินใจปฏิบัติหน้าที่สำคัญบางอย่างด้วยตนเองได้ ต้องขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาชั้นสูงในกระทรวง ทบวง กรมเสมอ
2. ทำให้ไม่อาจควบคุมดูแลความประพฤติของเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางที่ประจำยังส่วนต่างๆ ของประเทศได้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับรัฐที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ยังผลให้เจ้าหน้าที่บางส่วนสามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ตลอดจนทุจริตต่อหน้าที่ได้สะดวก
3. ทำให้ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ก็เพราะเจ้าที่ที่กระทรวง ทบวง กรม ของส่วนกลางส่งไปประจำในท้องที่ต่าง ๆ อาจไม่เข้าใจความต้องการและภูมิประเทศของท้องถิ่นต่าง ๆ ได้ครบถ้วน
4. ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ไม่มีโอการได้ปกครองตนเอง หรือช่วยบริหารกิจการเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นของตน อันจะเป็นการช่วยเสริมสร้างประชาธิปไตยในท้องถิ่น ทั้งนี้ก็เพราะเจ้าหน้าที่ของส่วนกลางจะทำหน้าที่ทุกอย่างให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
5. ทำให้เจ้าหน้าที่ของส่วนกลางมีภาระหน้าที่มากเกินไป จนไม่สามารถทำหน้าที่เหล่านั้นให้ลุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจยังผลให้ประชาชนในส่วนต่าง ๆ ของประเทศไม่พอใจและเกลียดชังรัฐบาล
2. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization of Powers) หมายถึง การให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ใช้อำนาจการปกครองบางอย่างได้ หรือมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการบางอย่างเพื่อประโยชน์สุขของตนเองได้ตามที่ปรารถนา หรือกล่าวสั้น ๆ ได้ว่า การกระจายอำนาจ คือ การให้ประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ มีอำนาจปกครองตนเองนั่นเอง โดยองค์กรการปกครองท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีอำนาจที่จะทำกิจการต่าง ๆ ได้เอง หลักการกระจายอำนาจการปกครองมีข้อดีและข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี มีดังนี้
1. ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ สามารถจัดกิจการสนองความต้องการของท้องถิ่นได้ตามที่ปรารถนาอย่างรวดเร็ว
2. ทำให้ประชาชนมีโอกาสได้ปกครองตนเอง อันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีประสบการณ์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยในท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถปฏิบัติการปกครองแบบประชาธิปไตยในระดับชาติได้ง่าย
3. ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ มีโอกาสช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่นของตน และคิดพึ่งตนเองมากกว่าที่จะพึ่งเจ้าหน้าที่ของส่วนกลาง
4. ทำให้รัฐบาลในส่วนกลางมีภาระในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ น้อยลง และมีเวลาในการปฏิบัติหน้าที่สำคัญ ๆ ของรัฐได้อย่างเต็มที่ อาทิ หน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย หน้าที่ในการรักษาเอกราชของชาติ เป็นต้น
ข้อเสีย มีดังนี้
1. เสียค่าใช้จ่ายมาก องค์กรปกครองท้องถิ่นที่ตั้งขึ้น จะต้องใช้เงินทองซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ และจ้างเจ้าหน้าที่สำหรับบริหารกิจการของท้องถิ่นต่าง ๆ เอง ด้วยเหตุนี้ หลักการกระจายอำนาจจึงมักจะใช้แพร่หลายในประเทศที่ร่ำรวย และใช้เฉพาะกับท้องถิ่นที่ประชาชนมีรายได้สูง และมีความสามารถที่จะปกครองตนเองได้เท่านั้น ส่วนประเทศที่ยากจนมักจะใช้หลักการกระจายอำนาจในขอบเขตที่จำกัด
2. อาจทำให้การบริหารกิจการต่าง ๆ อันเป็นหน้าที่ของรัฐขาดเอกภาพ ทั้งนี้เพราะท้องถิ่นต่าง ๆ อาจสร้างระเบียบการปกครองของตนเองแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น
3. อาจทำให้รัฐบาลในส่วนกลางไม่สามารถวางแผนในการใช้ทรัพยากร หรือแผนในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน หรือแผนในการป้องกันประเทศได้ตามต้องการ ทั้งนี้ก็เพราะประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ อาจไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในส่วนกลางอย่างเต็มที่ในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยนอกท้องถิ่นของตน รวมทั้งอาจต้องการใช้ทรัพยากรหรือภาษีอากรที่เก็บในท้องถิ่นของตน เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นของตนเท่านั้น
ข้อดี มีดังนี้
1. ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ สามารถจัดกิจการสนองความต้องการของท้องถิ่นได้ตามที่ปรารถนาอย่างรวดเร็ว
2. ทำให้ประชาชนมีโอกาสได้ปกครองตนเอง อันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีประสบการณ์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยในท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถปฏิบัติการปกครองแบบประชาธิปไตยในระดับชาติได้ง่าย
3. ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ มีโอกาสช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่นของตน และคิดพึ่งตนเองมากกว่าที่จะพึ่งเจ้าหน้าที่ของส่วนกลาง
4. ทำให้รัฐบาลในส่วนกลางมีภาระในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ น้อยลง และมีเวลาในการปฏิบัติหน้าที่สำคัญ ๆ ของรัฐได้อย่างเต็มที่ อาทิ หน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย หน้าที่ในการรักษาเอกราชของชาติ เป็นต้น
ข้อเสีย มีดังนี้
1. เสียค่าใช้จ่ายมาก องค์กรปกครองท้องถิ่นที่ตั้งขึ้น จะต้องใช้เงินทองซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ และจ้างเจ้าหน้าที่สำหรับบริหารกิจการของท้องถิ่นต่าง ๆ เอง ด้วยเหตุนี้ หลักการกระจายอำนาจจึงมักจะใช้แพร่หลายในประเทศที่ร่ำรวย และใช้เฉพาะกับท้องถิ่นที่ประชาชนมีรายได้สูง และมีความสามารถที่จะปกครองตนเองได้เท่านั้น ส่วนประเทศที่ยากจนมักจะใช้หลักการกระจายอำนาจในขอบเขตที่จำกัด
2. อาจทำให้การบริหารกิจการต่าง ๆ อันเป็นหน้าที่ของรัฐขาดเอกภาพ ทั้งนี้เพราะท้องถิ่นต่าง ๆ อาจสร้างระเบียบการปกครองของตนเองแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น
3. อาจทำให้รัฐบาลในส่วนกลางไม่สามารถวางแผนในการใช้ทรัพยากร หรือแผนในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน หรือแผนในการป้องกันประเทศได้ตามต้องการ ทั้งนี้ก็เพราะประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ อาจไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในส่วนกลางอย่างเต็มที่ในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยนอกท้องถิ่นของตน รวมทั้งอาจต้องการใช้ทรัพยากรหรือภาษีอากรที่เก็บในท้องถิ่นของตน เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นของตนเท่านั้น
3. หลักการแบ่งอำนาจ (Deconcentration of Powers) หมายถึง การที่กระทรวง ทบวง กรม ที่ตั้งอยู่ในนครหลวง แบ่งอำนาจในการบริหารกิจการบางอย่างให้แก่ข้าราชการในสังกัดของตนที่ไปประจำอยู่ในภูมิภาค คือ จังหวัดและอำเภอ ทั้งนี้เพื่อให้ข้าราชการเหล่านั้นสามารถตัดสินใจในการทำกิจการต่าง ๆ เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว เช่น กรมตำรวจแบ่งอำนาจในการปราบปรามโจรผู้ร้าย ให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่กรมตำรวจส่งไปประจำอยู่ในจังหวัดและอำเภอต่าง ๆ เป็นต้น หลักในการแบ่งอำนาจมีข้อดีและข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี มีดังนี้
1. ทำให้ประชาชนได้รับบริการจากรัฐบาลกลางเร็วขึ้น
2. ลดภาระของรัฐบาลกลางในการวินิจฉัยสั่งการแก้ปัญหาของภูมิภาคต่าง ๆ
3. ลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการให้บริการแก่ประชาชน และของประชาชนในการขอรับบริการจากรัฐบาลกลาง
ข้อเสีย มีดังนี้
1. ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ มีโอกาสปกครองตนเองหรือบริหารกิจการเพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่นได้น้อย เพราะข้าราชการส่วนภูมิภาคซึ่งได้รับมอบหมายอำนาจมาจากส่วนกลางจะเป็นผู้บริหารกิจการด้วยตนเอง
2. ทำให้ความต้องการของประชาชนไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเต็มที่ เนื่องจากข้าราชการส่วนภูมิภาคอาจไม่เข้าใจความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้อย่างแท้จริง
ข้อดี มีดังนี้
1. ทำให้ประชาชนได้รับบริการจากรัฐบาลกลางเร็วขึ้น
2. ลดภาระของรัฐบาลกลางในการวินิจฉัยสั่งการแก้ปัญหาของภูมิภาคต่าง ๆ
3. ลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการให้บริการแก่ประชาชน และของประชาชนในการขอรับบริการจากรัฐบาลกลาง
ข้อเสีย มีดังนี้
1. ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ มีโอกาสปกครองตนเองหรือบริหารกิจการเพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่นได้น้อย เพราะข้าราชการส่วนภูมิภาคซึ่งได้รับมอบหมายอำนาจมาจากส่วนกลางจะเป็นผู้บริหารกิจการด้วยตนเอง
2. ทำให้ความต้องการของประชาชนไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเต็มที่ เนื่องจากข้าราชการส่วนภูมิภาคอาจไม่เข้าใจความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้อย่างแท้จริง
ระบอบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่องกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย การยื่นถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ การแสดงความคิดในการทำประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำประชามติ
ระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนมากในประเทศให้เป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของประเทศตามนโยบายที่กลุ่มหรือพรรคนั้นได้วางไว้ล่วงหน้า ลักษณะเด่นดังกล่าวนี้จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปถ้ากลุ่มหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นหลักในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองการปกครอง
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
1. อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรือบางทีก็เรียกกันว่า อำนาจของรัฐ (state power) เป็นอำนาจที่มาจากปวงชน และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
2. ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้งตัวแทนเพื่อไปใช้สิทธิใช้เสียงแทนตน เช่น การเลือก สส. หรือ สว. โดยมีการกำหนดวันเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง เช่น ทุก 4 ปี หรือ6 ปีเป็นต้น
3. รัฐบาลจะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน อาทิ สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิต เสรีภาพในการพูด การเขียน การแสดงความคิดเห็น การชุมนุม โดยรัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเล่านี้
เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อรักษาศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
4. ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการที่จะได้รับบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน เช่น สิทธิในการ ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
5. รัฐบาลถือกฎหมายและความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง และในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มชน รวมทั้งจะต้องไม่ออกกฎหมายที่มีผลเป็นการลงโทษบุคคลย้อนหลัง
ระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และแบบที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
1. แบบแรกมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้แก่ อังกฤษ เนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และไทย
2. แบบที่สองมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ได้แก่ ฝรั่งเศส อินเดีย สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนมากในประเทศให้เป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของประเทศตามนโยบายที่กลุ่มหรือพรรคนั้นได้วางไว้ล่วงหน้า ลักษณะเด่นดังกล่าวนี้จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปถ้ากลุ่มหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นหลักในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองการปกครอง
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
1. อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรือบางทีก็เรียกกันว่า อำนาจของรัฐ (state power) เป็นอำนาจที่มาจากปวงชน และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
2. ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้งตัวแทนเพื่อไปใช้สิทธิใช้เสียงแทนตน เช่น การเลือก สส. หรือ สว. โดยมีการกำหนดวันเลือกตั้งและมีวาระการดำรงตำแหน่ง เช่น ทุก 4 ปี หรือ6 ปีเป็นต้น
3. รัฐบาลจะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน อาทิ สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิต เสรีภาพในการพูด การเขียน การแสดงความคิดเห็น การชุมนุม โดยรัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเล่านี้
เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อรักษาศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
4. ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการที่จะได้รับบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน เช่น สิทธิในการ ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
5. รัฐบาลถือกฎหมายและความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง และในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มชน รวมทั้งจะต้องไม่ออกกฎหมายที่มีผลเป็นการลงโทษบุคคลย้อนหลัง
ระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และแบบที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
1. แบบแรกมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้แก่ อังกฤษ เนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และไทย
2. แบบที่สองมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ได้แก่ ฝรั่งเศส อินเดีย สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ข้อดีและข้อเสียของ ระบอบประชาธิปไตย
1. ข้อดีของระบอบประชาธิปไตย ที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
1.1 เปิดโอกาสให้ประชาชน ส่วนข้างมากดำเนินการปกครองประเทศ โดยประชาชนส่วนข้างน้อยมีสิทธิที่จะดำรงอยู่และทำการคัดค้านการปกครองของฝ่ายข้างมากได้ ข้อดีข้อนี้มีส่วนทำให้เกิดผลดีต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม เนื่องจากการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยฝ่ายเสียงข้างมากนั้นย่อมจะมีความถูกต้องมากและผิดพลาดน้อย ขณะเดียวกันฝ่ายเสียงข้างน้อยจะคอยเป็นกระจกเงา และท้วงติดผลเสียที่จะต้องป้องกันมิให้เกิดขึ้นตลอดเวลา
1.2 เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนใช้สิทธิเสรีภาพได้อย่างเสมอหน้ากัน ตัวอย่างเช่น ไม่ว่าจะเป็นคนมั่งมีหรือยากจน มีสิทธิที่จะรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองและสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประธานาธิบดี ซึ่งทำให้ประชาชนมีโอกาสเลือกคนดีและมีความสามารถเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าว
1.3 ถือกฎหมายเป็นมาตรฐานในการดำเนินการปกครอง โดยใช้กฎหมายบังคับแก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนมั่งมีหรือยากจน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือประชาชน ยังผลให้ทุกคนเสมอกันโดยกฎหมาย
1.4 ช่วยระงับความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเองโดยสันติวิธี โดยมีศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งช่วยทำให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ โดยมีกฎหมายเป็นกรอบของความประพฤติของทุกคน
2. ข้อเสียของระบอบประชาธิปไตย ที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
2.1 มีความล่าช้าในการตัดสินใจทำการต่าง ๆ เนื่องจากต้องมีการปรึกษาหารือและผ่านขั้นตอนมาก เช่นการตรา กฎหมายแต่ละฉบับต้องใช้เวลาบางครั้งหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน เนื่องจากต้องมีการอภิปรายกันในสภา และแก้ไขปรับปรุงกันมากกว่าจะประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ผู้นำของประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขโดยรีบด่วน จึงมักจะคิดว่าระบอบประชาธิปไตยไม่เหมาะกับประเทศของตน
2.2 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปกครองมาก ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศ หรือเลือกตั้งประธานาธิบดีแต่ละครั้ง ต้องใช้เงินทองเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้นำประเทศที่กำลังพัฒนามักคิดว่าประเทศของตนยากจนเกินไปที่จะใช้ระบอบประชาธิปไตยได้
2.3 อาจนำไปสู่ความสับสนวุ่นวายได้ ถ้าประชาชนส่วนมากในประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย ไม่รู้จักใช้สิทธิเสรีภาพให้อยู่ภายในกรอบของกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้ประเทศชาติเจริญช้าลงอีก ด้วยเหตุนี้ผู้นำของประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศ จึงคิดว่าระบอบประชาธิปไตยไม่เหมาะสมกับประเทศของตน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะปกครองในระบอบประชาธิปไตย
1. ข้อดีของระบอบประชาธิปไตย ที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
1.1 เปิดโอกาสให้ประชาชน ส่วนข้างมากดำเนินการปกครองประเทศ โดยประชาชนส่วนข้างน้อยมีสิทธิที่จะดำรงอยู่และทำการคัดค้านการปกครองของฝ่ายข้างมากได้ ข้อดีข้อนี้มีส่วนทำให้เกิดผลดีต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม เนื่องจากการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยฝ่ายเสียงข้างมากนั้นย่อมจะมีความถูกต้องมากและผิดพลาดน้อย ขณะเดียวกันฝ่ายเสียงข้างน้อยจะคอยเป็นกระจกเงา และท้วงติดผลเสียที่จะต้องป้องกันมิให้เกิดขึ้นตลอดเวลา
1.2 เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนใช้สิทธิเสรีภาพได้อย่างเสมอหน้ากัน ตัวอย่างเช่น ไม่ว่าจะเป็นคนมั่งมีหรือยากจน มีสิทธิที่จะรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองและสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและประธานาธิบดี ซึ่งทำให้ประชาชนมีโอกาสเลือกคนดีและมีความสามารถเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าว
1.3 ถือกฎหมายเป็นมาตรฐานในการดำเนินการปกครอง โดยใช้กฎหมายบังคับแก่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนมั่งมีหรือยากจน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือประชาชน ยังผลให้ทุกคนเสมอกันโดยกฎหมาย
1.4 ช่วยระงับความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเองโดยสันติวิธี โดยมีศาลเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งช่วยทำให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ โดยมีกฎหมายเป็นกรอบของความประพฤติของทุกคน
2. ข้อเสียของระบอบประชาธิปไตย ที่ควรกล่าวถึงมีดังนี้
2.1 มีความล่าช้าในการตัดสินใจทำการต่าง ๆ เนื่องจากต้องมีการปรึกษาหารือและผ่านขั้นตอนมาก เช่นการตรา กฎหมายแต่ละฉบับต้องใช้เวลาบางครั้งหลายวัน หลายสัปดาห์ หรือหลายเดือน เนื่องจากต้องมีการอภิปรายกันในสภา และแก้ไขปรับปรุงกันมากกว่าจะประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมาย ด้วยเหตุนี้ผู้นำของประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งมีปัญหาที่จะต้องแก้ไขโดยรีบด่วน จึงมักจะคิดว่าระบอบประชาธิปไตยไม่เหมาะกับประเทศของตน
2.2 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปกครองมาก ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วประเทศ หรือเลือกตั้งประธานาธิบดีแต่ละครั้ง ต้องใช้เงินทองเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้นำประเทศที่กำลังพัฒนามักคิดว่าประเทศของตนยากจนเกินไปที่จะใช้ระบอบประชาธิปไตยได้
2.3 อาจนำไปสู่ความสับสนวุ่นวายได้ ถ้าประชาชนส่วนมากในประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย ไม่รู้จักใช้สิทธิเสรีภาพให้อยู่ภายในกรอบของกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้ประเทศชาติเจริญช้าลงอีก ด้วยเหตุนี้ผู้นำของประเทศที่กำลังพัฒนาบางประเทศ จึงคิดว่าระบอบประชาธิปไตยไม่เหมาะสมกับประเทศของตน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะปกครองในระบอบประชาธิปไตย
รากฐานสำคัญของประชาธิปไตย
อธิบายในเชิงวิชาการ (เชิงมีเหตุผลยืนยันสอดคล้องน่าเชื่อถือหรือพิสูจน์ได้)ได้ว่า ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้น ต้องอยู่บนรากฐานหลักการที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. หลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนแสดงออกซึ่งการเป็นเจ้าของโดยใช้ อำนาจที่มีตามกระบวนการเลือกตั้งอย่างอิสระและทั่วถึงในการให้ได้มาซึ่งตัวผู้ปกครองและผู้แทนของตน รวมทั้งประชาชนมีอำนาจในการคัดค้านและถอดถอนผู้ปกครองและผู้แทนที่ประชาชนเห็นว่า ไม่ได้บริหารประเทศในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เช่น มีพฤติกรรมฉ้อโกง หาผลประโยชน์ทับซ้อนจนร่ำรวยผิดปกติ
2. หลักเสรีภาพ ประชาชนทุกคนมีความสามารถในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บุคคลต้องการ ตราบเท่าที่การกระทำของเขานั้น ไม่ไปละเมิดลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือละเมิดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงของประเทศชาติ
3. หลักความเสมอภาค การเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากรและคุณค่าต่างๆของสังคมที่มีอยู่จำกัดอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกกีดกันด้วยสาเหตุแห่งความแตกต่างทางชั้นวรรณะทางสังคม ชาติพันธุ์ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือด้วยสาเหตุอื่น
4. หลักการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักนิติธรรม การให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทั้งในเรื่องสิทธิเสรีภาพในทรัพย์สิน การแสดงออก การดำรงชีพ ฯลฯ อย่างเสมอหน้ากัน โดยผู้ปกครองไม่สามารถใช้อำนาจใดๆลิดรอนเพิกถอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ และผู้ปกครองไม่สามารถใช้อภิสิทธิอยู่เหนือกฎหมาย หรือเหนือกว่าประชาชนคนอื่นๆได้
5. หลักการเสียงข้างมาก (Majority rule)ควบคู่ไปกับการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights) การตัดสินใจใดๆที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหมู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนเข้าสู่ระบบการเมือง การตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ ย่อมต้องถือเอาเสียงข้างมากที่มีต่อเรื่องนั้นๆ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินทางเลือก โดยถือว่าเสียงข้างมากเป็นตัวแทนที่สะท้อนความต้องการ/ข้อเรียกร้องของประชาชนหมู่มาก
หลักการเสียงข้างมากนี้ ต้องใช้ควบคู่ไปกับการ เคารพและคุ้มครองสิทธิเสียงข้างน้อยด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่า ฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้วิธีการพวกมากลากไปเพื่อผลประโยชน์ของพวกตนอย่างสุดโต่ง แต่ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งหมด เพื่อสร้างสังคม ที่ประชาชนเสียงข้างน้อย รวมทั้งชนกลุ่มน้อย ผู้ด้อยโอกาสต่างๆ สามารถอยู่ร่วมกับประชาชนกลุ่มอื่นๆ ได้อย่างสันติสุข โดยไม่มีการเอาเปรียบกัน และไม่มีการสร้างความขัดแย้งในสังคมมากเกินไป
อธิบายในเชิงวิชาการ (เชิงมีเหตุผลยืนยันสอดคล้องน่าเชื่อถือหรือพิสูจน์ได้)ได้ว่า ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงนั้น ต้องอยู่บนรากฐานหลักการที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. หลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนแสดงออกซึ่งการเป็นเจ้าของโดยใช้ อำนาจที่มีตามกระบวนการเลือกตั้งอย่างอิสระและทั่วถึงในการให้ได้มาซึ่งตัวผู้ปกครองและผู้แทนของตน รวมทั้งประชาชนมีอำนาจในการคัดค้านและถอดถอนผู้ปกครองและผู้แทนที่ประชาชนเห็นว่า ไม่ได้บริหารประเทศในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เช่น มีพฤติกรรมฉ้อโกง หาผลประโยชน์ทับซ้อนจนร่ำรวยผิดปกติ
2. หลักเสรีภาพ ประชาชนทุกคนมีความสามารถในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บุคคลต้องการ ตราบเท่าที่การกระทำของเขานั้น ไม่ไปละเมิดลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือละเมิดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงของประเทศชาติ
3. หลักความเสมอภาค การเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากรและคุณค่าต่างๆของสังคมที่มีอยู่จำกัดอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกกีดกันด้วยสาเหตุแห่งความแตกต่างทางชั้นวรรณะทางสังคม ชาติพันธุ์ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือด้วยสาเหตุอื่น
4. หลักการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักนิติธรรม การให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทั้งในเรื่องสิทธิเสรีภาพในทรัพย์สิน การแสดงออก การดำรงชีพ ฯลฯ อย่างเสมอหน้ากัน โดยผู้ปกครองไม่สามารถใช้อำนาจใดๆลิดรอนเพิกถอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ และผู้ปกครองไม่สามารถใช้อภิสิทธิอยู่เหนือกฎหมาย หรือเหนือกว่าประชาชนคนอื่นๆได้
5. หลักการเสียงข้างมาก (Majority rule)ควบคู่ไปกับการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights) การตัดสินใจใดๆที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหมู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนเข้าสู่ระบบการเมือง การตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ ย่อมต้องถือเอาเสียงข้างมากที่มีต่อเรื่องนั้นๆ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินทางเลือก โดยถือว่าเสียงข้างมากเป็นตัวแทนที่สะท้อนความต้องการ/ข้อเรียกร้องของประชาชนหมู่มาก
หลักการเสียงข้างมากนี้ ต้องใช้ควบคู่ไปกับการ เคารพและคุ้มครองสิทธิเสียงข้างน้อยด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่า ฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้วิธีการพวกมากลากไปเพื่อผลประโยชน์ของพวกตนอย่างสุดโต่ง แต่ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งหมด เพื่อสร้างสังคม ที่ประชาชนเสียงข้างน้อย รวมทั้งชนกลุ่มน้อย ผู้ด้อยโอกาสต่างๆ สามารถอยู่ร่วมกับประชาชนกลุ่มอื่นๆ ได้อย่างสันติสุข โดยไม่มีการเอาเปรียบกัน และไม่มีการสร้างความขัดแย้งในสังคมมากเกินไป
ระบอบเผด็จการ
ระบอบเผด็จการ มีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจการเมืองการปกครองไว้ที่บุคคลเพียงคนเดียวหรือคณะเดียวหรือพรรคเดียว โดยบุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าวสามารถใช้อำนาจนั้นควบคุมบังคับประชาชนได้โดยเด็ดขาด หากประชาชนคนใดคัดค้านผู้นำหรือคณะผู้นำก็จะถูกลงโทษให้ทำงานหนักหรือถูกจำคุก
ระบอบเผด็จการมี 3 แบบ คือ เผด็จการทหาร เผด็จการฟาสซิสต์ และเผด็จการคอมมิวนิสต์ ดังต่อไปนี้
1. ระบอบเผด็จการทหาร หมายถึง ระบอบเผด็จการที่คณะผู้นำฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการในการปกครองโดยตรงหรือโดยอ้อม (ผ่านทางพลเรือนที่พวกตนสนับสนุน) และมักจะใช้กฎอัยการศึกหรือรัฐธรรมนูญที่คณะของตนสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการปกครอง โดยทั่วไปคณะผู้นำทหารมักจะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการชั่วคราว ระหว่างที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือหลังจากล้มเลิกระบอบประชาธิปไตย โดยมีเป้าหมายเพื่อขจัดภัยคุกคามบางอย่างต่อความมั่นคงของรัฐ ส่วนมากแล้วเมื่อเหตุการณ์ความวุ่นวายต่าง ๆ สงบลง คณะผู้นำทางทหารก็มักจะอ้างสาเหตุต่าง ๆ นานาเพื่อยึดอำนาจการปกครองประเทศต่อไปอีก ไม่ยอมที่จะคืนอำนาจกลับมาให้ประชาชนโดยง่าย ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหภาพพม่าในปัจจุบันนี้เป็นต้น แต่ทว่าเมื่อเวลายิ่งผ่านเนิ่นนานออกไปกระแสความไม่พอใจในหมู่ประชาชนรวมทั้งแรงกดดันจากนานาชาติ ก็จะทำให้คณะผู้นำทางทหารกุมอำนาจการปกครองไว้ไม่ได้ ในที่สุดก็จำเป็นต้องคืนอำนาจให้ประชาน แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ในบางประเทศก็เกิดความวุ่นวาย มีการต่อสู้ระหว่างกำลังของประชาชนกับกำลังของรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งจากประวัติศาสตร์การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการปกครองที่ผ่านมา มักจะจบลงโดยชัยชนะเป็นของฝ่ายประชาชน เช่นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่โรมาเนีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ตัวอย่างของการปกครองแบบเผด็จการทหาร เช่น การปกครองของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นระยะที่พลเอกโตโจและคณะนายทหารใช้อำนาจเผด็จการในการปกครอง หรือการปกครองของไทยระหว่างที่ไม่มีรัฐธรรมนูญ ในระหว่างวันที่20 ตุลาคม 2501 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2511 อำนาจการปกครองประเทศตกอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะปฏิวัติ ซึ่งนำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร ส่วนในปัจจุบัน(พ.ศ. 2541) ก็มี เช่น การปกครองของสหภาพพม่าภายใต้การนำของพลเอกตาน ส่วย เป็นต้น
2. ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ หมายถึง ระบอบเผด็จการที่ผู้นำคนหนึ่งซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักธุรกิจและกองทัพให้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ ผู้นำในระบอบการปกครองเผด็จการฟาสซิสต์มักจะมีลัทธิการเมืองที่เรียกกันว่า ลัทธิฟาสซิสต์ เป็นลัทธิชี้นำในการปกครองและมุ่งที่จะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการถาวร โดยเชื่อว่าระบอบการปกครองแบบนี้เหมาะสมกับประเทศของตน และจะช่วยให้ประเทศของตนมีความเจริญก้าวหน้าโดยเร็ว ตัวอย่างของการปกครองระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ เช่น การปกครองของอิตาลีสมัยมุสโสลินีเป็นผู้นำ ระหว่าง พ.ศ.2473 – 2486 การปกครองของเยอรมนีสมัยฮิตเลอร์เป็นผู้นำ ระหว่าง พ.ศ. 2476 – 2488 หรือการปกครองของสเปนสมัยจอมพลฟรังโกเป็นผู้นำระหว่าง
พ.ศ. 2480 – 2518 เป็นต้น
3. ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ หมายถึง ระบอบเผด็จการที่พรรคคอมมิวนิสต์เพียงพรรคเดียวได้รับการยอมรับ หรือสนับสนุนจากกลุ่มบุคคลต่าง ๆ และกองทัพให้เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ คณะผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เชื่อว่า ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์เป็นรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับประเทศของตน และจะช่วยทำให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นอิสระจากการถูกกดขี่โดยชนชั้นนายทุน รวมทั้งทำให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าและเข้มแข็งทัดเทียมกับต่างประเทศได้เร็วกว่าระบอบการปกครองแบบอื่น ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์มีความแตกต่างจากระบอบเผด็จการทหารอยู่ข้อหนึ่งที่สำคัญ คือ ระบอบเผด็จการทหารจะควบคุมเฉพาะกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนเท่านั้น แต่ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์จะใช้อำนาจเผด็จการควบคุมกิจกรรมละการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ด้วยเหตุนี้นักรัฐศาสตร์จึงเรียกระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์อีกอย่างหนึ่งว่า ระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ
ระบอบเผด็จการมี 3 แบบ คือ เผด็จการทหาร เผด็จการฟาสซิสต์ และเผด็จการคอมมิวนิสต์ ดังต่อไปนี้
1. ระบอบเผด็จการทหาร หมายถึง ระบอบเผด็จการที่คณะผู้นำฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการในการปกครองโดยตรงหรือโดยอ้อม (ผ่านทางพลเรือนที่พวกตนสนับสนุน) และมักจะใช้กฎอัยการศึกหรือรัฐธรรมนูญที่คณะของตนสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการปกครอง โดยทั่วไปคณะผู้นำทหารมักจะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการชั่วคราว ระหว่างที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือหลังจากล้มเลิกระบอบประชาธิปไตย โดยมีเป้าหมายเพื่อขจัดภัยคุกคามบางอย่างต่อความมั่นคงของรัฐ ส่วนมากแล้วเมื่อเหตุการณ์ความวุ่นวายต่าง ๆ สงบลง คณะผู้นำทางทหารก็มักจะอ้างสาเหตุต่าง ๆ นานาเพื่อยึดอำนาจการปกครองประเทศต่อไปอีก ไม่ยอมที่จะคืนอำนาจกลับมาให้ประชาชนโดยง่าย ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหภาพพม่าในปัจจุบันนี้เป็นต้น แต่ทว่าเมื่อเวลายิ่งผ่านเนิ่นนานออกไปกระแสความไม่พอใจในหมู่ประชาชนรวมทั้งแรงกดดันจากนานาชาติ ก็จะทำให้คณะผู้นำทางทหารกุมอำนาจการปกครองไว้ไม่ได้ ในที่สุดก็จำเป็นต้องคืนอำนาจให้ประชาน แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ในบางประเทศก็เกิดความวุ่นวาย มีการต่อสู้ระหว่างกำลังของประชาชนกับกำลังของรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งจากประวัติศาสตร์การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการปกครองที่ผ่านมา มักจะจบลงโดยชัยชนะเป็นของฝ่ายประชาชน เช่นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่โรมาเนีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ตัวอย่างของการปกครองแบบเผด็จการทหาร เช่น การปกครองของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นระยะที่พลเอกโตโจและคณะนายทหารใช้อำนาจเผด็จการในการปกครอง หรือการปกครองของไทยระหว่างที่ไม่มีรัฐธรรมนูญ ในระหว่างวันที่20 ตุลาคม 2501 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2511 อำนาจการปกครองประเทศตกอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะปฏิวัติ ซึ่งนำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร ส่วนในปัจจุบัน(พ.ศ. 2541) ก็มี เช่น การปกครองของสหภาพพม่าภายใต้การนำของพลเอกตาน ส่วย เป็นต้น
2. ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ หมายถึง ระบอบเผด็จการที่ผู้นำคนหนึ่งซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักธุรกิจและกองทัพให้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ ผู้นำในระบอบการปกครองเผด็จการฟาสซิสต์มักจะมีลัทธิการเมืองที่เรียกกันว่า ลัทธิฟาสซิสต์ เป็นลัทธิชี้นำในการปกครองและมุ่งที่จะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการถาวร โดยเชื่อว่าระบอบการปกครองแบบนี้เหมาะสมกับประเทศของตน และจะช่วยให้ประเทศของตนมีความเจริญก้าวหน้าโดยเร็ว ตัวอย่างของการปกครองระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ เช่น การปกครองของอิตาลีสมัยมุสโสลินีเป็นผู้นำ ระหว่าง พ.ศ.2473 – 2486 การปกครองของเยอรมนีสมัยฮิตเลอร์เป็นผู้นำ ระหว่าง พ.ศ. 2476 – 2488 หรือการปกครองของสเปนสมัยจอมพลฟรังโกเป็นผู้นำระหว่าง
พ.ศ. 2480 – 2518 เป็นต้น
3. ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ หมายถึง ระบอบเผด็จการที่พรรคคอมมิวนิสต์เพียงพรรคเดียวได้รับการยอมรับ หรือสนับสนุนจากกลุ่มบุคคลต่าง ๆ และกองทัพให้เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ คณะผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เชื่อว่า ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์เป็นรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับประเทศของตน และจะช่วยทำให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นอิสระจากการถูกกดขี่โดยชนชั้นนายทุน รวมทั้งทำให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าและเข้มแข็งทัดเทียมกับต่างประเทศได้เร็วกว่าระบอบการปกครองแบบอื่น ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์มีความแตกต่างจากระบอบเผด็จการทหารอยู่ข้อหนึ่งที่สำคัญ คือ ระบอบเผด็จการทหารจะควบคุมเฉพาะกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนเท่านั้น แต่ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์จะใช้อำนาจเผด็จการควบคุมกิจกรรมละการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ด้วยเหตุนี้นักรัฐศาสตร์จึงเรียกระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์อีกอย่างหนึ่งว่า ระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ
หลักการของระบอบเผด็จการ1. ผู้นำคนเดียวหรือคณะผู้นำของกองทัพ หรือของพรรคการเมืองเพียงกลุ่มเดียวมีอำนาจสูงสุด และสามารถใช้
อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องฟังเสียงคนส่วนใหญ่ในประเทศ
2. การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำ มีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำอย่างเปิดเผยได้
3. ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต หรือนานเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงานหรือกองทัพยังให้การสนับสนุน ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
4. รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนที่จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนที่จัดขึ้นก็เพื่อให้ประชาชนออกเสียงเลือกตั้งผู้สมัครที่ผู้นำหรือคณะผู้นำส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน รัฐสภาก็จะประชุมกันปีละ 5 – 10 วัน เพื่อรับทราบและยืนยันให้ผู้นำหรือคณะผู้นำทำการปกครองต่อไป ตามที่ผู้นำหรือคณะผู้นำเห็นสมควร
อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องฟังเสียงคนส่วนใหญ่ในประเทศ
2. การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำ มีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำอย่างเปิดเผยได้
3. ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต หรือนานเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงานหรือกองทัพยังให้การสนับสนุน ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
4. รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนที่จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนที่จัดขึ้นก็เพื่อให้ประชาชนออกเสียงเลือกตั้งผู้สมัครที่ผู้นำหรือคณะผู้นำส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน รัฐสภาก็จะประชุมกันปีละ 5 – 10 วัน เพื่อรับทราบและยืนยันให้ผู้นำหรือคณะผู้นำทำการปกครองต่อไป ตามที่ผู้นำหรือคณะผู้นำเห็นสมควร
ข้อดีและข้อเสีย ของระบอบเผด็จการ
ข้อดีของระบอบเผด็จการ ได้แก่
1. รัฐบาลสามารถตัดสินใจทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้รวดเร็วกว่ารัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย เช่น สามารถออกกฎหมายมาใช้บังคับเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากเสียงข้างมากในรัฐสภา ทั้งนี้ก็เพราะผู้นำหรือคณะรัฐมนตรีมักจะได้รับมอบอำนาจจากรัฐสภาไว้ล่วงหน้าให้ออกกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับบางอย่างได้เอง
2. แก้ปัญหาบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิผลกว่าระบอบประชาธิปไตย เช่น สั่งการปราบการจลาจล การก่ออาชญากรรม และการก่อการร้ายต่าง ๆ ได้อย่างเฉียบขาดมากกว่า โดยไม่จำต้องเกรงว่าจะเกินอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ เนื่องจากศาลในระบอบเผด็จการไม่ได้มีความเป็นอิสระในการพิจารณาคดีเหมือนในระบอบประชาธิปไตย
ข้อเสียของระบอบเผด็จการ ได้แก่
1. เป็นการปกครองโดยบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มเดียว ซึ่งย่อมจะมีการผิดพลาดและใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องได้โดยไม่มีใครรู้หรือกล้าคัดค้าน
2. มีการใช้อำนาจเผด็จการกดขี่และลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งประทุษร้ายต่อชีวิตของคนหรือกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มผู้ปกครอง
3. ทำให้คนดีมีความสามารถที่ไม่ใช่พวกพ้อง หรือผู้สนับสนุนกลุ่มผู้ปกครองไม่มีโอกาสดำรงตำแหน่งสำคัญในทางการเมือง
4. ประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกกดขี่และขาดสิทธิเสรีภาพ ย่อมจะไม่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่และอาจพยายามต่อต้านอยู่เงียบ ๆ หรือมิฉะนั้นบางคนก็อาจจะหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่บุคคลเหล่านี้มักจะเป็นพวกปัญญาชน ทำให้ประเทศชาติขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ
5. อาจนำประเทศชาติไปสู่ความพินาศได้ เหมือนดังฮิตเลอร์ได้นำประเทศเยอรมนี หรือพลเอกโตโจได้นำประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งผลปรากฏว่าทั้งสองประเทศประสบความพินาศอย่างย่อยยับ หรือตัวอย่างเหตุการณ์ที่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน เห่งอิรัค ได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดครองประเทศคูเวต และไม่ยอมถอนตัวออกไปตามมติขององค์การสหประชาชาติ จนกองกำลังนานาชาติต้องเปิดฉากทำสงครามกับอิรักเพื่อปลดปล่อยคูเวต และผลสุดท้ายอิรักก็เป็นฝ่ายปราชัยอย่างย่อยยับ ทำให้ประชาชนชาวอิรักต้องประสบความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต การพัฒนาประเทศหยุดชะงัก ทั้งนี้เป็นเพราะการตัดสินใจผิดพลาดของผู้นำเพียงคนเดียว
เนื่องจากระบอบประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการต่างก็มีข้อดีและข้อเสียดังกล่าว จึงทำให้ชนชั้นนำและประชาชนจำนวนหนึ่งในประเทศต่างๆ เลือกใช้ระบอบการปกครองที่พวกตนคิดว่าเหมาะสมกับประเทศของตนในขณะนั้น และสามารถช่วยแก้ปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศของตนตามแนวทางที่พวกตนเชื่อได้ ดังจะเห็นได้ว่า ในระยะตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา บางประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองของตนจากระบอบเผด็จการมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เช่น เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น โปรตุเกส สเปน เป็นต้น ส่วนบางประเทศก็เปลี่ยนจากระบอบประชาธิปไตยมาเป็นระบอบเผด็จการทหาร เช่น พม่า นิการากัว เอธิโอเปีย เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน บางประเทศก็เปลี่ยนจากระบอบเผด็จการฟาสซิสต์หรือเผด็จการทหารเป็นระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ เช่น เกาหลีเหนือ เป็นต้น
ข้อดีของระบอบเผด็จการ ได้แก่
1. รัฐบาลสามารถตัดสินใจทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้รวดเร็วกว่ารัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย เช่น สามารถออกกฎหมายมาใช้บังคับเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากเสียงข้างมากในรัฐสภา ทั้งนี้ก็เพราะผู้นำหรือคณะรัฐมนตรีมักจะได้รับมอบอำนาจจากรัฐสภาไว้ล่วงหน้าให้ออกกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับบางอย่างได้เอง
2. แก้ปัญหาบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิผลกว่าระบอบประชาธิปไตย เช่น สั่งการปราบการจลาจล การก่ออาชญากรรม และการก่อการร้ายต่าง ๆ ได้อย่างเฉียบขาดมากกว่า โดยไม่จำต้องเกรงว่าจะเกินอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ เนื่องจากศาลในระบอบเผด็จการไม่ได้มีความเป็นอิสระในการพิจารณาคดีเหมือนในระบอบประชาธิปไตย
ข้อเสียของระบอบเผด็จการ ได้แก่
1. เป็นการปกครองโดยบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มเดียว ซึ่งย่อมจะมีการผิดพลาดและใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องได้โดยไม่มีใครรู้หรือกล้าคัดค้าน
2. มีการใช้อำนาจเผด็จการกดขี่และลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งประทุษร้ายต่อชีวิตของคนหรือกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มผู้ปกครอง
3. ทำให้คนดีมีความสามารถที่ไม่ใช่พวกพ้อง หรือผู้สนับสนุนกลุ่มผู้ปกครองไม่มีโอกาสดำรงตำแหน่งสำคัญในทางการเมือง
4. ประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกกดขี่และขาดสิทธิเสรีภาพ ย่อมจะไม่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่และอาจพยายามต่อต้านอยู่เงียบ ๆ หรือมิฉะนั้นบางคนก็อาจจะหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่บุคคลเหล่านี้มักจะเป็นพวกปัญญาชน ทำให้ประเทศชาติขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ
5. อาจนำประเทศชาติไปสู่ความพินาศได้ เหมือนดังฮิตเลอร์ได้นำประเทศเยอรมนี หรือพลเอกโตโจได้นำประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งผลปรากฏว่าทั้งสองประเทศประสบความพินาศอย่างย่อยยับ หรือตัวอย่างเหตุการณ์ที่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน เห่งอิรัค ได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดครองประเทศคูเวต และไม่ยอมถอนตัวออกไปตามมติขององค์การสหประชาชาติ จนกองกำลังนานาชาติต้องเปิดฉากทำสงครามกับอิรักเพื่อปลดปล่อยคูเวต และผลสุดท้ายอิรักก็เป็นฝ่ายปราชัยอย่างย่อยยับ ทำให้ประชาชนชาวอิรักต้องประสบความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต การพัฒนาประเทศหยุดชะงัก ทั้งนี้เป็นเพราะการตัดสินใจผิดพลาดของผู้นำเพียงคนเดียว
เนื่องจากระบอบประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการต่างก็มีข้อดีและข้อเสียดังกล่าว จึงทำให้ชนชั้นนำและประชาชนจำนวนหนึ่งในประเทศต่างๆ เลือกใช้ระบอบการปกครองที่พวกตนคิดว่าเหมาะสมกับประเทศของตนในขณะนั้น และสามารถช่วยแก้ปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศของตนตามแนวทางที่พวกตนเชื่อได้ ดังจะเห็นได้ว่า ในระยะตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา บางประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองของตนจากระบอบเผด็จการมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เช่น เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น โปรตุเกส สเปน เป็นต้น ส่วนบางประเทศก็เปลี่ยนจากระบอบประชาธิปไตยมาเป็นระบอบเผด็จการทหาร เช่น พม่า นิการากัว เอธิโอเปีย เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน บางประเทศก็เปลี่ยนจากระบอบเผด็จการฟาสซิสต์หรือเผด็จการทหารเป็นระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ เช่น เกาหลีเหนือ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น